วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ยามหัศจรรย์

ตำรายามหัศจรรย์นี้ มีเพื่อนผมได้ส่งอีเมล์มาให้ และบอกให้ช่วยส่งต่อไปด้วย ซึ่งผมก็ไม่ได้ส่ง จึงได้นำมาไว้บน Blog แห่งนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นวิทยาทาน สำหรับทุกคนที่อ่าน ใครที่อ่านแล้วจะ COPY หรือส่งต่อไปก็ได้ แค่นี้ก็ได้บุญแล้ว โดยเฉพาะหากมีญาติพี่น้องที่เป็นแล้ว รีบส่งให้เลย นะครับ

ยามหัศจรรย์
ในหนังสือ "ยามหัศจรรย์สำหรับคุณ" ได้เขียนบรรยายสรรพคุณของพืชผักแต่ละชนิดว่ามีคุณประโยชน์ต่อการรักษาได้อย่างไร เช่น
1. ปวดหัว กินปลามากๆ ทั้งปลาทะเล ปลาน้ำจืด น้ำมันจากปลามีสรรพคุณป้องกันการปวดหัว กินพร้อม ๆ กับขิง จะช่วยบรรเทาอาการปวดหัวลง
2. แพ้ละออง เป็นแพ้ทั้งฝุ่นและเกสรดอกไม้ ให้กินโยเกิร์ต หรือนมเปรี้ยว
3. โรคหัวใจ ดื่มชาเขียว เป็นประจำ สารในชาเขียวช่วยป้องกันไม่ให้ไขมันไปจับตัวตามผนังหลอดเลือด
4. โรคนอนไม่หลับ ดื่มน้ำผึ้ง เป็นประจำ สารในน้ำผึ้งมีฤทธิ์เป็นยากล่อมประสาททำให้นอนหลับฝันดี
5. โรคหืดหอบ กินหอม ต้นหอม หรือ หัวหอม ก็ได้มีตัวยาทำให้หลอดลมปลอดโปร่ง
6. โรคไขข้ออักเสบ กินปลาเท่านั้น แก้ไขเป็นปกติได้ ได้แก่ ปลาแซลมอน ปลาทูน่า (ปลาโอ) ปลาแมคเคอเรล ปลาซาดีนส์ ( ปลากระป๋อง ) น้ำมันปลาทำให้โรคไขข้ออักเสบบรรเทาลง
7. ท้องผูก ท้องอืด ให้กินกล้วย หรือ ขิง กล้วยทำให้ไม่ท้องผูก และขิงทำให้อาการคลื่นไส้ในตอนเช้าหายไป
8. ติดเชื้อในถุงกระเพาะปัสสาวะ ให้ กินน้ำคั้นจากลูกแคนเบอรี (ไม้เมืองหนาว) กรดเข้มข้นในลูกไม้ฆ่าแบคทีเรียได้
9.โรคหงุดหงิด ฟุ้งซ่าน โดยเฉพาะเกิดในผู้หญิงสูงอายุด้วย ให้กินข้าวโพดช่วยบรรเทาอาการเครียด วิตกกังวล และความคิดสับสนได้
10.โรคกระดูกพรุน ทั้งกระดูกเปราะและแตกง่าย แก้ไขได้โดยให้กินสับปะรด ซึ่งมีสารแมงกานีสอยู่มาก ช่วยให้กระดูกแข็งแรงได้
11. ความจำเสื่อม แก้ไขโดย กินหอยนางรม หอยแครงหรือหอยอื่น ๆ ซึ่งในเนื่อหอยมีสารสังกะสีช่วยบำรุงสมองได้ดี
12. เป็นหวัด กินกระเทียม ทำให้จมูกโปร่ง สมองโล่ง กระเทียมช่วยลดไขมันในเลือดได้อีกด้วย
13. ไอ จาม กินพริกแดง สารที่นำมาทำยาแก้ไอนั้นสกัดมาจากพริกแดง
14. มะเร็งเต้านม กินข้าวสาลี รำข้าว และกะหล่ำปลีจะช่วยป้องกันได้ดี โดยเฉพาะรำข้าวกะหล่ำปลี ช่วยให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนได้ในปริมาณที่เหมาะสม ข้อสำคัญอย่ากินไก่มาก เพราะใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนในการเร่งการเจริญเติบโต ช่วยให้อาการปั่นป่วนในท้องเมื่อเชื้อโรคบิดเล่นงานทุเลาลง ที่มีอยู่ในผลไม้ชนิดนี้ทำลายไขมันเลว ' คลอเลสเตอรอล ' ได้ ทำให้ระดับความดันเลือดลดลง ซึ่งมีอินซูลินทำให้น้ำตาลในเลือดสมดุลได้
15. มะเร็งปอด กินส้ม และ ผักใบเขียว มีวิตามินเอ อยู่มากจะช่วยป้องกันการก่อพิษของสารเบต้าแคโรทีน
16 แผลในกระเพาะอาหาร กินกะหล่ำปลี ซึ่งมีสารเคมีช่วยทำให้แผลเรื้อรังในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กหายขาดได้
17. โรคท้องร่วง กินแอปเปิ้ลสดทั้งเปลือก
18. เส้นเลือดตีบ กินผลอโวคาโด แก้ได้เพราะไขมันดี 'โมโรอันแซตเทอเรต'
19. ความดันโลหิตสูง กินผลโอลีฟ และผักขึ้นฉ่ายพืชทั้งสองชนิดนี้มีสารเคมี
20. น้ำตาลในเลือดไม่สมดุล กินผักบร็อกโรลี่ และถั่วลิสง คุณประโยชน์ของพืชสมุนไพร

อาการของการเกิดมะเร็งในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย
1. มะเร็งปากมดลูก อาการ มีเลือดออกจากช่องคลอดทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่เวลารอบเดือนปกติของคุณ อาการเจ็บปวดและมีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ หากพบว่ามีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น การตรวจโดยขูด เนื้อเยื่อจากบริเวณดังกล่าวไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์จะรู้ได้ มีก้อนบวมในทันทีทำให้รู้สึกว่ากลืนอาหารได้ลำบากหรือมีการขยายตัวของต่อมใน ลำคอที่โตขึ้นจนสามารถจับและรู้สึกได้ อาการน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วอาเจียนออกมาเป็นเลือดท้องอืดหรืออาหารไม่ย่อย บ่อย รู้สึกเหมือนมีก้อนเนื้องอกในช่องท้องหรือรู้สึกตื้อ แม้เพิ่งจะรับประทานอาหารไปได้ไม่กี่คำ
2. มะเร็งในมดลูก อาการ มีเลือดออกหลังการมีเพศสัมพันธ์ หรือบางครั้งอาจมีความรู้สึกว่ามีก้อนเนื้อหรือมีอาการบวมในช่องท้อ
3. มะเร็งรังไข่ อาการ ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอหรือการมีอาการเจ็บปวดหลังการมีเพศสัมพันธ์ มีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้อาการท้องอืดอาหารไม่ย่อย น้ำหนักลดและมีอาการ ปวดหลัง
4. มะเร็งในเม็ดเลือด (ลูคีเมีย) อาการเหนื่อยง่ายและมีอาการซีดเซียวกว่าปกติมักเกิดอาการฟกช้ำดำเขียว หรือมีเลือดออกทางผิวหนังได้ง่ายโดยไม่ทราบสาเหตุและมักจะเกิดร่วมกับอาหารปวดตามข้อต่าง ๆ ทั่วร่างกายบางครั้งจะท้องอืดและเมื่อคลำดูจะพบว่ามีก้อนบวมที่ด้านซ้ายของช่องท้อง
5. มะเร็งปอด อาการ มักมีอาการไอบ่อย ๆ มีเลือดออกและมีเสมหะปนมากับน้ำลายน้ำหนักลดอย่างฮวบฮาบ เจ็บหน้าอกและหายใจลำบากหรืออาจมีอาการหอบปนอยู่ด้วยทั้ง ๆที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
6. มะเร็งตับ อาการ ปวดในช่องท้อง เบื่ออาหาร น้ำหนักลดตาและผิวเป็นสีออกเหลืองและเหลืองจัดจนเห็นได้ชัด
7. มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ อาการ มีเลือดปนออกมากับปัสสาวะ
8. มะเร็งสมอง อาการ ปวดศีรษะนาน ๆ และมักมีอาการอื่นร่วมด้วยเช่น อาเจียนหรือการผิดปกติของการมองเห็น ตาพร่า และเห็นแสงเขียว ๆ แดง ๆ ลอยไปมาเวลาปวดศีรษะ อ่อนเพลียไม่มีแรง หรือ การเป็นลมโดยกะทันหันอวัยวะบางส่วนของร่างกายหยุดทำงานเช่นมีอาการชาและเป็นอัมพาตชั่วคราว ควรให้ความระวังเป็นพิเศษหากคุณเคยมีประวัติการปวดหัวที่มีอาการเหล่านี้ประกอบอยู่ด้วย
9. มะเร็งในช่องปาก อาการ มีก้อนบวมอยู่ในปาก หรือทีลิ้นเป็นเวลานานมีแผลเปื่อยที่ปากที่ไม่ได้รับการรักษาหรือเป็นแผลเรื้อรังที่เหงือกเนื่องจากการกดทับของฟันปลอมที่ใส่ไว้ประจำหรือเป็นเวลานาน
10. มะเร็งในลำคอ อาการ เสียงแหบพร่าไปทันที
11. มะเร็งในกระเพาะอาหาร12. มะเร็งทรวงอก ไปที่ร้านยาจีน ซื้อหัวเตย 1 ตำลึง หัวขิง 1ตำลึง ก้อนเกลือ 3 ก้อน นำมารวมกันแล้วแช่น้ำทิ้งไว้ 1 วัน ในน้ำ 1 ชาม จากนั้นให้ดื่มจนหมดชาม สรรพคุณในการรักษา - หลังจากดื่มยานี้แล้วควรดื่มน้ำตามมาก ๆ นำส่วนที่เหลือมารับประทาน ยานี้จะขับเอาของเสียออกทางอุจจาระหรือปัสสาวะไม่ต้องตกใจ เป็นการขับของเสียออกหมดแล้วจะปกติ อาการมีเลือดหรือของเหลวบางอย่างไหลออกมาจากหัวนมบวมหรือผิวเนื้อทรวงอกหนาขึ้นมีก้อนบวมจนจับได้เมื่อคลำบริเวณใต้รักแร้ บางครั้งอาจมีตุ่มหรือสิวเกิดขึ้นที่เต้านมเป็นเวลานานควรระวังเพราะผู้หญิง 9 ใน 10 คนจะมีอาการบวมของก้อนเนื้อบริเวณทรวงอก โดยไม่ทราบสาเหตุเมื่อมีอายุมากขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทำให้เกิดเป็นถุงน้ำใต้ผิวหนังที่เรียกว่าซีสต์ ซึ่งควรต้องค้นหาสาเหตุของอาการบวมนั้นให้ชัดเจนเสียก่อนว่าคืออะไรกันแน่
13. มะเร็งลำไส้ อาการ น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วมีอาการปวดท้องอย่างมากและระบบการย่อยผิดปกติมีเลือดออกปนมากับอุจจาระ ซึ่งมีวิธีสังเกตของผู้ที่มีอาการเกี่ยวกับริดสีดวงทวารอยู่แล้วคือถ้าใช้กระดาษทิชชูซับแล้วเลือดมีสีแดงสดนั่นคือ อาการของริดสีดวงทวารแต่ถ้าเลือดมีสีดำคล้ำนั่นคือ อาการของโรคมะเร็งในลำไส้
14. มะเร็งต่อมน้ำเหลือง อาการมีก้อนบวมเกิดขึ้นที่ใต้รักแร้หรือใต้ขาหนีบโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าไม่ได้ เกิดอาการติดเชื้อในบางส่วนของร่างกาย
15. มะเร็งผิวหนัง อาการมีแผลหรือแผลเปื่อยพุพองที่ไม่ได้รับการรักษาอยู่เป็นเวลานานตลอดจนไฝหรือหูดที่โตขึ้นและมีการเปลี่ยนสีหรือรูปร่าง ขนาด นอกจากนี้อาการอันตรายอีกอย่างหนึ่งที่ เรียกว่าเมลาโนมา (Melanoma)คือ เนื้องอกที่ประกอบด้วยเซลล์ที่มีเมลานินสะสมอยู่ เช่น กระจุดด่างหรือไฝ ถ้าคุณมีไฝมากกว่า 50 เม็ด ทั่วร่างกายหรือมีคนในครอบครัวที่มีประวัติว่าเคยเป็นโรคนี้มาก่อนคุณจะมีอัตราเสี่ยงสูงกว่าคนอื่นๆ ขอให้ท่านนำเรื่องนี้ไปบอกต่อเป็นวิทยาทาน ท่านจะโชคดีมีความสุขตลอดกาล

ตำรานี้ใช้แก้โรคมะเร็งผู้เป็นมะเร็งจะหายโดยไม่คาดคิด สำหรับมะเร็งจะหายภายใน 6 วัน วิธีรักษา (ข้อความหายไป ไม่ได้ส่งมา)

พืชผักที่กินเป็นอาหารประจำวันนั้นนอกจากจะอิ่มท้องแล้วยังมีสรรพคุณช่วยสร้างความสมดุลภายในร่างกายช่วยป้องกันและรักษาโรคภัยไข้เจ็บชนิดต่างๆได้ถ้าได้เรียนรู้ที่จะรู้จักเลือกกินให้เหมาะกับตนเอง โดยเฉพาะพืชสมุนไพรไทยนั้นนับเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของคนไทยเป็นภูมิปัญ ญาชาวบ้านในท้องถิ่นอันควรปกป้องหวงแหนและอนุรักษ์ไว้ให้เป็นมรดกแก่ลูกหลาน ไทยขอให้ช่วยกันป้องกันไม่ให้ตกไปอยู่ในมือของคนต่างชาติที่จ้องฉกฉวยผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของ เราไปเป็นของตนทุกวิถีทาง ดังนั้นอนุชนรุ่นหลังจึงควรที่จะได้นำมาศึกษา ค้นคว้า และคิดค้นตามแนวทางที่บรรพบุรุษของเราท่านได้วางพื้นฐานไว้ให้เพื่อนำมาใช้ ให้เป็นประโยชน์ในด้านโภชนาการของคนไทยต่อไป.

***ตำรานี้ห้ามซื้อขาย หรือคิดเป็นเงินค่ารักษา และขออย่าได้เก็บไว้เป็นส่วนตัวโดยเด็ดขาด หากท่านผู้อื่นรับทราบด้วยใจศรัทธาและกุศลจิตของท่าน ท่านและครอบครัวจะประสบแต่ความสุข ความสมหวังทุกประการ

วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2551

การจัดการเรียนรู้ 2 สถานะ (DUAL MODE)


เมื่อวันที่ 21-22 ต.ค.2551 ผมได้เข้าร่วมประชุมสัมมนาทางวิชาการและประชุมเชิงปฏิบัติการ “ไอซีทีเพื่อการศึกษาไทย (ICTEd 2008)” ณ ห้องประชุมอาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งจัดโดย สำนักบริการคอมพิวเตอร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) เป็นเจ้าภาพจัดงานนี้ขึ้น โดยหัวข้อในการสัมมนาครั้งนี้คือ การจัดการเรียน 2 สถานะ (Dual Mode) เรื่องราวเกี่ยวกับ การจัดการเรียนรู้ 2 สถานะ จากที่ได้ฟังการบรรยายมาตลอด 2 วัน พอที่จะสรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้
การเรียนรู้ 2 สถานะ หมายถึง การจัดการให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ 2 วิธี คือ สถานะจริง (Real mode) และสถานะเสมือนจริง (Virtual Mode) ซึ่งหากจะอธิบายง่ายๆ ให้มองภาพอย่างชัดเจน อาจอธิบายได้ดังนี้

การเรียนจากสถานะที่ 1 คือ สถานะจริง (Real mode) คือ ภาพที่เราเห็นอยู่เป็นส่วนใหญ่ในปัจจุบัน คือภาพที่ครูอาจารย์เข้าสอนหรือพบผู้เรียนโดยตรงในห้องเรียน มีการปฏิสัมพันธ์กัน ถ่ายทอดความรู้ต่อกันและกันโดยตรง (Face to Face)

ส่วนการเรียนจากสถานะที่ 2 คือ สถานะเสมือนจริง (Virtual Mode) คือ ภาพที่ผู้เรียนไม่ต้องมาเข้าห้องเรียน สามารถเรียนที่ไหนก็ได้ เวลาใดก็ได้ โดยครูอาจารย์ จะเป็นผู้จัดทำสื่อการสอนด้วยนวัตกรรมที่หลากหลาย ส่งผ่านช่องทางการสื่อสารไปยังผู้เรียน อิทธิพลที่ก่อให้เกิดการจัดการเรียนการสอนในสถานะเสมือนจริง (Virtual Mode) ก็คือ นวัตกรรมกรรมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ที่มีความก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ จนอาจกล่าวได้ว่า มนุษย์เริ่มอยู่ในโลกดิจิตอล

ยืน ภู่วรวรรณ (2551) กล่าวถึงข้อดีของการจัดการเรียน 2 สถานะ (Virtual Mode) ว่า
  1. มีความยืดหยุ่นทั้งเวลาและสถานที่
  2. เป็นการเรียนรู้แบบทำงานร่วมกันระหว่างอาจารย์กับผู้เรียนโดยไม่จำกัดสภาพภูมิศาสตร์
  3. นิสิตเรียนอย่างกระตือรือร้น เรียนแบบแสวงหา
  4. Virtually และไม่จำกัดขอบเขตของข่าวสาร
  5. ผู้เรียนช่วยกำหนดผลลัพธ์ และการคาดหวัง
  6. อาจารย์ยืนอยู่ข้าง คอยแนะนำ เป็นที่ปรึกษา
  7. ยืดหยุ่นให้ผู้เรียนเรียนด้วยตนเองหรือเป็นทีม
  8. ทำให้มหาวิทยาลัยเป็นประตูสู่โลกกว้าง
  9. การประเมินเป็นรายบุคคล ใช้ Portfolio
นอกจากนั้นยังกล่าวต่ออีกว่า รูปแบบการจัดการเรียน 2 สถานะ (Dual Mode) จะต้องมีเครือข่ายและการโทรคมนาคมเป็นสื่อกลาง ระหว่าง

  • ข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศ
  • นักศึกษา อาจารย์และบุคลากร
  • ความรู้และปัญญา
  • คอมพิวเตอร์และการประมวลผล
นักศึกษาในมหาวิทยาลัยจะได้รับความรู้จากวิธีการจัดการเรียนการสอนต่างๆ แตกต่างกันไป ดังนี้ (www.internettime.com/itimegroup/MOE1.PDF)
  1. การติวและการสอนกันเอง นักศึกษาจะได้รับความรู้ ร้อยละ 90
  2. การเรียนรู้ด้วยการกระทำ นักศึกษาจะได้รับความรู้ ร้อยละ 75
  3. การสนทนากลุ่ม นักศึกษาจะได้รับความรู้ ร้อยละ 50
  4. การสาธิต นักศึกษาจะได้รับความรู้ ร้อยละ 30
  5. การใช้โสตทัศนูปกรณ์ช่วย นักศึกษาจะได้รับความรู้ ร้อยละ 20
  6. การบรรยายในห้องเรียน นักศึกษาจะได้รับความรู้ ร้อยละ 5
จากจำนวนร้อยละของการได้รับความรู้ที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า การจัดการเรียนการสอนแบบเดิมที่ครูอาจารย์เข้าบรรยายในห้องเรียน ผู้เรียนจะได้รับความรู้เพียงแค่ ร้อยละ 5 ดังนั้นการเรียนในสถานะเสมือนจริง (Virtual Mode) ด้วยพลังแห่งดิจิตอล อินเเตอร์เน็ต เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสมัยใหม่ที่รวดเร็วหลากหลายวิธี การเรียนแบบใหม่นี้ น่าจะทำให้นักศึกษามีประสบการณ์ในการแก้ปัญหา เรียนรู้เอง สามารถคิด วิเคราะห์ และใช้เหตุผลได้ดีขึ้น
หากเรามามองถึงสภาพการจัดการเรียนการสอนส่วนใหญ่ของโรงเรียนไทยในปัจจุบัน เราก็ยังคงที่จะมองเห็นภาพของคุณครูที่กำลังพูดเจื้อยแจ้วพร่ำสอนหนังสือให้แก่นักเรียนในห้อง มีการปฏิสัมพันธ์กันในระหว่างลูกศิษย์กับครู คุณครูบ้างก็มีสื่อการสอนที่จัดทำขึ้นเองหรือซื้อหามา เพื่อประกอบการเรียนให้เด็กเข้าใจดียิ่งขึ้น ถึงเวลาหมดชั่วโมงสอน ก็เดินออกจากห้องเรียนนี้ ไปสอนห้องเรียนอื่นต่อ เป็นอย่างนี้เรื่อยไป นี่คือการสอนในสถานะจริง (Real Mode)
แต่หากโรงเรียนและคุณครูต้องการจัดการเรียนการในสถานะเสมือนจริง (Virtual Mode) ควบคู่ไปกับสถานะจริง (REal Mode) ด้วย โรงเรียนและคุณครูจะต้องทำอย่างไร?
  1. คุณครูคงต้องรู้จักการสร้างบทเรียนอิเลคทรอนิกส์ (e-learning) และสื่อการสอนอิเลคทรอนิค (e-media) จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ ให้สอดคล้องกับหลักสูตรและแผนการสอนของตนเอง เป็นที่น่าสนใจต่อเด็ก แล้วผลิตออกมาในรูปแบบของ CD, DVD หรือ File สำหรับนำเสนอ สามารถนำไปใช้ได้ทั้งระบบออพไลน์ และออนไลน์ เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ตามระยะเวลาที่กำหนด และต้องสามารถให้นักเรียนทบทวนบทเรียนได้เมื่อต้องการโดยไม่จำกัดสถานที่และเวลา
  2. โรงเรียนต้องจัดให้มีอุปกรณ์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สามารถจะเปิด e-learning และ e-media ทั้งในระบบออพไลน์และออนไลน์ได้ มีการจัดการบริหารระบบให้สามารถสนองตอบความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญต้องมีคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์มัลติมีเดียให้เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอนในแต่ละครั้ง
  3. โรงเรียนต้องวางแผนการจัดตารางสอนและการใช้ห้องคอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริง รวมทั้งมีรูปแบบการประเมินผลนักเรียนที่เชื่อถือได้จากการเรียนการในสถานะเสมือนจริง
  4. โรงเรียนและคุณครูสามารถใช้เครื่องมือต่างๆ ที่มีอยู่แล้วใน Virtual World มาประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ของเด็กในสถานะเสมือนจริงได้ อาทิ Hi5, Facebook, Blog , MSN, ICQ, Wikipedia, You tube, Second life หรือการสร้าง Avatar เป็นต้น

หากสามารถจัดการเรียนการสอนแบบ 2 สถานะได้ บทบาทของครูและอาจารย์ก็จะเปลี่ยนไป กล่าวคือ (ยืน ภู่สุวรรณ.2551)
  • เปลี่ยนบทบาทจากหน้าชั้นเรียนในสถานะจริง (Real Mode) หรือเรียกว่าการป้อนเนื้อหา กลับมาเป็นผู้ให้คำแนะนำหรือสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนในสถานะเสมือนจริง (Virtual Mode)
  • เปลี่ยนจากการเป็นต้นแบบ เป็นคอยกำกับการเรียนรู้
  • ร่วมบทบาทระหว่างการเรียนรู้ของผู้เรียน มากกว่าการเป็นผู้สอน
  • มีการเปลี่ยนแปลงที่ยอมรับได้ในรูปแบบใหม่ใน Virtual Space (เช่น e-learning, e-education, Online classroom, e-University เป็นต้น)
แต่อย่างไรก็ตามการจัดการเรียนการสอน 2 สถานะ (Dual Mode) ก็ยังมีปัญหาอุปสรรคมาก โดยฌแพะปัญหาที่สำคัญคือ
  • ผู้บริหารหรือผู้นำองค์กร ขาดความรู้ความเข้าใจ ทำให้ไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควร
  • องค์กรยังขาดวัฒนธรรมในการสนับสนุน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บุคลากรยังขาดการมีส่วนร่วมในกระบวนการขององค์กร ขาดแรงจูงใจในการสร้าง การใช้ดิจิตอล การแบ่งปัน และการใช้ร่วมกัน
  • บุคคลากรไม่มีความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ เรียนรู้เพิ่มเติมหรือแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้อื่น จึงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบการจัดการดิจิตอล อีกทั้งบุคลากรส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจเรื่องไอที และมักไม่ให้ความร่วมมือในการดำเนินการ ไม่ได้รับผลประโยชน์ใดๆ จากกิจกรรมต่างๆ
  • เทคโนโลยีสารสนเทศไม่มีการลงทุนที่เหมาะสม ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการสนับสนุนกระบวนการ ทำให้การพัฒนาระบบในองค์กรล่าช้า
สำหรับในทัศนะส่วนตัวของผมแล้ว การจัดการเรียนรู้ 2 สถานะ (Dual Mode) เป็นการจัดการเรียนรู้ที่มีความเป็นไปได้ ซึ่งในปัจจุบันพวกเราก็จัดการเรียนการสอนไปบ้างแล้ว เพียงแต่ไม่รู้ตัว เช่น การใช้สื่อ CD-ROM ในการสอน หรือการใช้ e-learning ในบางสถานการศึกษา เป็นต้น เพียงแต่เรายังไม่สามารถจัดกระบวนการเรียนการสอนในโลกเสมือนจริง (Virtual World) ได้อย่างเต็มรูปแบบ เนื่องจากพวกเราส่วนใหญ่ขาดทักษะทางคอมพิวเตอร์ (Computer Skill) และขาดทักษะทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด (IT skill) ประกอบกับขาดงบประมาณในการลงทุนในด้านนี้อย่างเพียงพอ ซึ่งหากสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้แล้ว วันหนึ่ง โรงเรียนของเราคงสามารถจัดการเรียนรู้ 2 สถานะ ได้อย่างแน่นอน.
อ้างอิง
  • ยืน ภู่สุวรรณ.(21 ต.ค.2551). เอกสารประกอบการบรรยายหัวข้อ "ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการเรียนรู้ 2 สถานะในระดับอุดมศึกษา". การประชุมสัมมนาทางวิชาการและประชุมเชิงปฏิบัติการ “ไอซีทีเพื่อการศึกษาไทย (ICTEd 2008)”. สำนักบริการคอมพิวเตอร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.)


วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2551

โลกเสมือนจริง (Virtual World)


โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือ โลกเสมือน 3 มิติที่ถูกสร้างขึ้นใน Cyber Space โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปผ่านการเชื่อมโยงทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ทต่างๆ โดยเน้นให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้ทั่วโลก ต่างมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในรูปแบบต่างๆ ที่หลากหลาย อิทธิพลของ Virtual World ส่งผลให้เด็กและเยาวชน และผู้ใหญ่เอง เกิดความหลงใหล มีจำนวนผู้เข้าไปในโลกแห่งนี้ทวีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โลกเสมือน 3 มิติหรือโลกเสมือนจริง ในปัจจุบัน มีตัวอย่างให้พวกเราได้เห็นกันหลายรูปแบบ อาทิ



  • เครือข่ายสังคม เช่น Hi5, Facebook
  • เครือข่ายฝูงชน เช่น Crowd source - Wikipedia
  • เครือข่าย bit torrent peer to peer
  • เครือข่ายแบ่งปันข้อมูล เช่น You tube, Fickr
  • เครือข่ายการพูดคุยกัน เช่น MSN, ICQ, Skype
  • เครือข่ายสร้างห้อง Virtual เช่น Camgrog, Video Conference
โลกเสมือนจริง (Virtual World) กำลังจะให้ก่อให้เกิดสังคมใหม่ของโลกโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ภาษา ประเพณี วัฒนธรรม เพศ อายุ สถานที่ และระยะทาง เพียงแต่ผู้ที่เข้าไปสัมผัสในโลกเสมือนจริงนี้ต้องสามารถเข้าถึงและมีทักษะของการใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นด้วย ในโลกเสมือนจริง ไม่จำเป็นต้องแสดงตัวตนที่แท้จริง ไม่มีการเผชิญหน้า สามารถเลือกอยู่ในสังคมใดๆ ก็ได้ที่เราต้องการ หรือหากไม่ชอบก็ไปหาโลกใหม่ในไซเบอร์ได้อย่างหลากหลายที่ตรงกับความต้องการ วันหนึ่งข้างหน้า
วันหนึ่งข้างหน้า มนุษย์อาจจะมีชีวิตอยู่ในโลกไซเบอร์ มีชีวิตอยู่ร่วมกับผู้คนต่างๆ ในโลกเสมือนจริง ผ่านทางหน้าจอสี่เหลี่ยมเล็กๆ หรือผ่านโทรศัพท์มือถือ PDA , IPOD ฯลฯ แต่เมื่อเงยหน้าออกมา กับพบกับตัวตนที่แท้จริงแต่ในโลกแห่งความเป็นจริง (Real World) ผู้คนในอนาคตอาจจะไม่มีคำว่า EMASI ตามที่ ชัยยง พรมวงศ์ (2551) กล่าวไว้ คือ
E - Emotion Quality (EQ) คนจะไม่มีคุณภาพทางอารมณ์
M - Morality Quality (MQ) คนจะขาดคุณธรรมและจริยธรรม ขาดศีลธรรมที่ดีงาม
A - Adversity Quality (AQ) คนจะขาดความอดกลั้น อดทน และฟื้นตัวได้ช้าหากพบกับความผิดหวังในชีวิต
S - Social Quality (SQ) คนจะไม่สามารถอยู่ร่วมสังคมกับคนอื่นๆ ได้
I - Intellectual Quality (IQ) คนจะด้อยคุณภาพทางสติปัญญาและความเฉลียวฉลาด
อ้างอิง:
  • ประดนเดช นีละคุปต์. (22 ต.ค.2551). เอกสารประกอบการบรรยายหัวข้อ "สังคม 2 สถานะ".การสัมมนาวิขาการและประชุมเชิงปฏิบัติการ ไอซีทีเพื่อการศึกษาไทย ครั้งที่ 6. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : สำนักบริการคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ และ สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
  • ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (21 ต.ค.2551).เอกสารประกอบการบรรยายหัวข้อ "การศึกษา 2 สถานะ 3 ทางเลือก (การเรียนที่สถาบัน การเรียนทางไกล และการเรียนออนไลน์) (Dual Mode Institution with “Triple-option” teaching modes (on-campus, traditional distance education and online.). การสัมมนาวิชาการและประชุมเชิงปฏิบัติการ ไอซีทีเพื่อการศึกษาไทย ครั้งที่ 6. ,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : สำนักบริการคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ และ สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.




1.เกม Online ซึ่งส่วนใหญ่ออกแบบให้มีความท้าทายต่อผู้เล่น ที่ต้องทำภารกิจที่กำหนดไว้ให้สำเร็จ เพื่อให้เนื้อเรื่องของเกมสามารถดำเนินต่อไปได้ และบางเกมถูกออกแบบไว้ไม่มีวันจบสิ้น ตัวอย่างเกมออนไลน์ที่นิยม เช่น World of Warcralf Ragnarok

2.การสร้างความเป็น อวาตาร์ (Avatar) ดูตัวอย่าง ใน Second Life ซึ่งสร้างขึ้นโดย บริษัท Linden Lab ซึ่งสามารถนำผู้เล่นไปในโลกของ Second Life ผู้เล่นสามารถทำกิจกรรมต่างๆ พบปะเพื่อนฝูงชอบปิ้ง เที่ยวเล่นเกม หรือถ้าผู้เล่นอยากจะลงหลักปักฐานก็หาซื้อที่ดินเพื่อสร้างบ้านหรือเปิดร้านค้าขายสินค้าให้คนอื่นๆ ได้ Second Life ได้ออกแบบเครื่องมือที่สามารถทำให้ผู้เล่นสร้างตัวตนใหม่ตามที่ต้องการ หรือที่เรียกว่า อวาตาร์ (Avatar) ผู้เล่นมีอิสระที่จะสร้างสรรค์วัตถุหรือสิ่งของ หรือเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ได้อย่างไร้ขีดจำกัด Second Life ใช้เทคนิคการออกแบบชั้นสูง สร้างโลกแฟนตาซีให้น่าหลงใหล มีรูปแบบชีวิตตามที่ตนเองต้องการ ไม่ต้องเผชิญหน้า สามารถทำงานร่วมกัน อยู่ร่วมกัน แสดงออกอย่างไรก็ได้ กับ Avatar อื่นๆ ไม่มีกฏเกณฑ์น่าเบื่อหน่ายอย่างโลกแห่งความเป็นจริง นอกจากนั้น ตัวอย่างอื่นอาจพบได้อีกใน Lively:Virtual World จาก Google

3.การสร้างสภาพจำลองตามจินตนาการ (Opensim) ซอฟแวร์เหล่านี้ถูกออกแบบให้ผู้เล่นสามารถสร้างสภาพจำลองในโลกเสมือน 3 มิติ และสามารถเชื่อมต่อกันได้โดยเสรีและไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งถือเป็นคลื่นลูกใหม่แห่งวงการ Virtual World สามารถลองเข้าไปเยี่ยมชมดูได้จาก http://opensimulator.org/ , http://lifesim.com.br/ , http://openlifegrid.com/ , http://osgrid.org/ , http://clubpenguin.com/ เป็นต้น

4. การท่องเที่ยวแบบเสมือน (Virtual Tour) เปิดโอกาสให้ผู้เล่นสามารถไปเที่ยวที่ใดก็ได้ตามที่ต้องการ อาทิ http://arounder.com/ , http://www.palaces.thai.net/

5. มหาวิทยาลัยในโลกเสมือน (Virtual University) ซึ่งอาจพบข้อแตกต่างจากมหาวิทยาลัยในโลกจริง (Real University) ดังเช่น

  • โลกจริง ต้องเดินทางมาลงทะเบียน แต่โลกเสมือน ลงทะเบียนทางอินเทอร์เน็ต
  • โลกจริง ต้องเดินทางมาเรียน แต่โลกเสมือน เรียรนรู้ออนไลน์
  • โลกจริง ตรวจสอบคะแนนที่บอร์ด แต่โลกเสมือน ตรวจสอบคะแนนออนไลน์
  • โลกจริง ทำกิจกรรมที่มหาวิทยาลัย แต่โลกเสมือน ทำกิจกรรมผ่านโปรแกรม Second life
  • โลกจริง เดินทางมาพลอาจารย์ที่ปรึกษา แต่โลกเสมือน ทำ e-meeting
  • ฯลฯ
6.ร้านค้าเสมือนจริง (Virtual shoping) เป็นร้านค้าแห่งอนาคต ไม่ได้จำกัดอยู่แค่รูปแบบของการให้บริการตนเอง(Self service) แต่ผู้บริโภคต้องสามารถเข้าถึงการบริการและสินค้าได้จากทุกที่ทุกเวลา ผ่านสื่อต่างๆ รวมไปถึงเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต 3 มิติ(3-D Internet) และร้านค้าเสมือนจริงนี้ ต้องสามารถสร้างบรรยายกาศการช็อบปิ้งให้เสมือนจริง ตั้งแต่การนำเสนอ รวมไปถึงการสั่งซื้อสินค้า และการทำธุรกรรมทางการเงิน
7.เครือข่ายสังคม (Social network) ซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกันโดยทางใดทางหนึ่งโดยอาศัยเทคโนโลยีเว็บ ผู้คนที่เชื่อมโยงกันนี้ไม่จำกัดเชื้อชาติ ภาษา ระยะทางและตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ ก่อให้เกิดเป็นชุมชนใหม่ในโลกไซเบอร์ เครือข่ายสังคมในโลกเสมือนจริงนี้ อาจแยกได้หลายประเภท เช่น

วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2551

นาทีต่อนาที 7 ตุลาทมิฬ ตำรวจฆ่าประชาชน


จากเหตุการณ์วันที่ 7 ต.ค.2551 ที่ตำรวจใช้กำลังสลายผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย บริเวณถนนรอบรัฐสภา เพียงเพื่อเปิดเส้นทางให้รัฐบาลสามารถแถลงนโยบายได้ โดยตำรวจปฏิบัติการสลายการชุมนุมตั้งแต่เช้าตรู่ต่อเนื่องจนถึงกลางคืน ส่งผลให้มีประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุมเสียชีวิต 2 คน เสียอวัยวะเช่น ดวงตา แขนขา และบาดเจ็บอีกกว่า 400 คน


หลังเกิดเหตุการณ์ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้จัดพิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า "ตำรวจฆ่าประชาชน" แจกจ่ายฟรีแก่ผู้เข้าร่วมชุมนุม ในหนังสือได้รวบรวมเหตุการณ์ในวันนั้น พร้อมภาพถ่ายเหตุการณ์จริงช่างภาพต่างๆ ทั้งมืออาชีพและสมัครเล่นรวบรวมไว้ในหนังสือเล่มนี้


ในหนังสือได้บรรยาย ถึง นาทีหฤโหด! 7 ตุลาวิบโยค ตำรวจบ้าอำนาจเข่นฆ่าประชาชนหน้ารัฐสภา ไว้ดังนี้


06:15 น.

ตำรวจเปิดฉากยิงแก๊สน้ำตาและตำรวจหลายร้อยนายจู่โจมกลุ่มผู้ชุมนุมบริเวณถนนราชวิถีและหน้าสวนสัตว์ดุสิต เพื่อหวังสลายกลุ่มผู้ชุมนุมเปิดทางให้เจ้าหน้าที่รัฐสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา สามารถเข้าประตูด้านข้างของรัฐสภา เพียงเพื่อต้องการให้รัฐบาลแถลงนโยบาย โดยไม่มีการเจรจาก่อน


06:30 น.กลุ่มผู้ชุมนุมแตกฮือวิ่งหนีเอาตัวรอด บ้างนอนราบกับพื้น มีคนเจ็บจำนวนมากเนื่องจากถูกอาวุธร้ายแรง เลือดอาบ ผิวหนังถูกไฟลวก หนักที่สุดคือขาขาดทันที และสูญเสียดวงตา โดยที่ นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รองโฆษกพรคพลังประชาชน กล่าวให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ยืนยันว่า จะต่องมีการประชุมรัฐสภาต่อไป


07:00 น.หน่วยพยาบาลพยายามเข้าหาผู้บาดเจ็บและลำเลียงออกจากพื้นที่นำส่งโรงพยาบาล ขณะที่ตำรวจยังระดมยิงแก๊สน้ำตา กระสุนยาง และอาวุธทำลายล้างเข้าใส่กลุ่มผู้ชุมุนมอย่างต่อเนื่อง


07:20 น.ตำรวจรุกคืบเข้ายึดพื้นที่หน้ารัฐสภาได้บางส่วน และกลุ่มผู้ชุมนุมยังคงปักหลักอยู่บริเวณแยกอู่ทอง โดยมีเฮลิคอปเตอร์ 3 ลำบินวนอยู่บนฟ้า


08:10 น.

พ.ต.ท.สุรทิน พิมานเมฆินทร์ ส.ส.อุดรธานี พรรคพลังประชาชน ซึ่งอยู่ด้านในบริเวณรัฐสภา ได้เดินมาแสดงอากัปกิริยายั่วยุต่างๆ นานา และยกนิ้วกลางให้กลุ่มผู้ชุมนุม


08:20 น.

โฆษกเวทีชั่วคราวได้นำหลักฐานเป็นสะเก็ดระเบิดและสลักระเบิดจำนวนมาก รวมทั้งเศษชิ้นเนื้อ นิ้วมือของคน มาโชว์ให้ผู้ชุมนุมดู โดยระบุว่า ทีมพยาบาลอาสาซึ่งตรวจสอบโดยรอบพื้นที่รัฐสภาเก็บมาได้


08:30 น.

รัฐสภา ถูกตัดน้ำ ตัดไฟ


08:40 น.

สำนักข่าวทุกแห่ง รายงานข่าวตรงกันว่า สมเจพระเนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานเงิน 1 แสนบาท ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม


09:27 น.

กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) แถลงข่าวอ้างว่ามีความจำเป็นต้องใช้กำลังสลายพันธมิตรฯ ให้ ส.ส.เข้าสภา ปฏิเสธพัลวันไม่ได้ใช้อาวุธร้ายแรง


09:49 น.

นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี น้องเขย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เดินทางเข้าสภาแล้ว


10:00 น.ที่แยกพิชัย มีการยิงแก๊สน้ำตาอีกระลอก ทำให้ผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ ที่เดินทางมาตามถนนราชวิถีถอยร่น บาดเจ็บมากขึ้น


11:00 น.

ตำรวจยิงแก๊สน้ำตาออกมาจากกองบัญชาการตำรวจนครบาล ใส่ประชาชนที่เดินเท้าผ่านด้านลานพระบรมรูปทรงม้าเพื่อไปสมทบกันที่หน้ารัฐสภา เบื้องต้นมีผู้บาดเจ็บที่ขาเป็นแผลเหวอะหวะ


11:30 น.

ตำรวจตั้งแถวที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เคลื่อนขบวนผลักดันไม่ให้ประชาชนเคลื่อนเข้าสมทบหน้ารัฐสภาได้ พร้อมกับยิงแก๊สน้ำตาอย่างต่อเนื่อง


12:30 น.

พันธมิตรฯ เคลื่อนพลยึดพื้นที่คืน พร้อมกับปิดประตูทางเข้า-ออก รัฐสภาได้ทั้ง 3 ประตู


13:45 น.

นายสมชายฯ ได้เดินทางออกตากรัฐสภาโดยปีนรั้ว ก่อนจะขึ้นเฮลิคอปเตอร์พร้อมลูกสาวหนี


14:20 น.

ส.ส.และ ส.ว.ยังไม่สามารถออกจากรัฐสภาได้


15:58 น.

ตำรวยิงแก็สน้ำตาไม่ต่ำกว่า 20 นัด เข้าใส่กลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ บริเวณแยกสะพานซังฮี้จรดถึงแยกการเรือน เพื่อเตรียมเปิดทางให้ ส.ส.และ ส.ว.ที่เข้าร่วมประชุมรัฐสภา ออกจากนอกบริเวณรัฐสภา ทางประตูพระที่นั่งวิมานเมฆ


16:00 น.

เกิดเหตุรถจี๊ประเบิดที่หน้าพรรคชาติไทย เบื้องต้นพบมีผู้เสียชีวิต 1 ราย


16:45 น.

เจ้าหน้าที่ตำรวจผลักดันประชาชน โดยยิงแก๊สน้ำตาเข้ามาเป็นระยะๆ จนถึงแยกอู่ทองใน อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้กระทำการโหดเหี้ยม ยิงแม้กระทั่งรถพยาบาลที่พยายามเข้าไปช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่ผู้ชุมนุมที่หน้ารัฐสภาอย่างต่อเนื่อง และไม่ยอมให้รถพยาบาลผ่านเข้าออก กลับยิงใส่เจ้าหน้าที่พยาบาลข้างหลัง ขณะเข้าตรวจสอบพื้นที่ว่ามีผู้บาดเจ็บหรือไม่


17:30 น.

เจ้าหน้าที่หน่วยพยาบาลพระราชทาน ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจยิงได้รับบาดเจ็บ 6 ราย


17:34 น.

นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี เปิดแถลงข่าวที่กองบัญชาการกองทัพไทย พร้อม พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ภายหลังการหารือผู้นำเหล่าทัพเสร็จ โดยยืนยันว่าจะไม่ลาออก และยังไม่มีการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน


18:30 น.

พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก ระบุว่า ตำรวจได้ร้องขอจากกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ให้ความควบคุมความสงบในพื้นที่ต่างๆ และสถานที่ราชการในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในชื่อ กองร้อยรักษาความสงบเรียบร้อย


19:02 น.

เจ้าหน้าที่ตำรวจยิงแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุมที่ยืนอยู่ด้านหน้ากองบัญ๙การตำรวจนครบาล ส่งผลให้คนเจ็บขาขาดเพิ่มอีก 4 ราย และอีกหลายคนที่บาดเจ็บสาหัสทั้งมือและใบหน้า เพราะถูกสะเก็ดระเบิด และเสียชีวิตในเวลาต่อมา 1 ราย


22:10 น.

ตำรวจเริ่มยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่พันธมิตรฯ บริเวณแยกลานพระบรมรูปทรงม้า โดยอ้างว่าพันธมิตรฯ เข้าไปใกล้กองบัญชาตำรวจนครบาล


23:15 น.

ตำรวจยังคงยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่พันธมิตรฯ เป็นระยะๆ จนเกือบจะย่างเข้าวันใหม่


ในตอนท้ายของหนังสือ "ตำรวจ ฆ่าประชาชน" เล่มนี้ ได้ระบุว่า ผู้สมรู้ร่วมคิดรับใบสั่งฆ่าประชาชน ในครั้งนี้ ได้แก่


1.นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี

2.นายชูศักดิ์ ศิรินิล เลขาธิการนายกรัฐมนตรี

3.พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รมว.มหาดไทย

4.พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

5.พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงษ์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ฝ่ายปราบปราม

6.พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล

7.พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล

วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ย้อนลำดับเหตุการณ์ 14 ต.ค.2516 วันมหาวิปโยค


วันนี้วันที่ 14 ต.ค.2551 ซึ่งเมื่อ 35 ปีที่แล้วคือ วันที่ 14 ต.ค.2516 ซึ่งเป็นวันแห่งประวัติศาสตร์ชาติไทยอีกวันหนึ่งที่เกิดเหตุการณ์นองเลือดครั้งใหญ่ในบ้านเมือง จนเรียกว่า 14 ตุลาคม 2516 วันมหาวิปโยค ตอนนั้นผมกำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก็พอได้ทราบเรื่องราววีรกรรมของนักเรียน นิสิต นักศึกษา ในเหตุการณ์ครั้งนั้นอยู่บ้าง แต่ก็ไม่เข้าใจอะไรมากนัก เนื่องจากยังเด็กเกินไปและไม่ค่อยมีความรู้เรื่องการเมือง วันนี้ผมเลยตั้งใจที่จะสืบค้นเรื่องราวในเหตุการณ์ครั้งนั้นโดยละเอียด เพื่อจะนำมาจัดรายการให้ผู้ฟังได้ฟังทางวิทยุในรายการที่ผมจัดเอง คือ รายการเวทีทัศนะ ทางสถานีวิทยุ FM 91.75 MHz คลื่นประชาชนคนราชบุรี

เนื่องจากเวลามีจำกัด ผมจึงเข้าไปสืบค้นจากอินเตอร์เน็ท และได้พบการบันทึกเหตุการณ์ที่ค่อนข้างละเอียดพอสมควร จากเว็บไซต์ สีแดงดอทคอม (http://www.seedang.com/) ไม่ทราบว่าผู้บันทึกคือใคร ผมเห็นว่าการบันทึกครั้งนี้ น่าจะช่วยเผยแพร่ไปในหลายๆ ช่องทาง ผมจึงได้คัดลอกการบันทึกเหตุการณ์ในครั้งนั้น มาไว้ในบล็อกของผมอีกแห่งหนึ่ง...ดังมีข้อความดังนี้


ความนำ14 ตุลาคม 2516 นับ เป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองยุคใหม่ของไทยที่มีนัยสำคัญอย่างยิ่งเพราะเป็นการลุกฮือ ของประชาชนนับแสนๆ คน เพื่อต่อต้านรัฐบาลเผด็จการทหาร เป็นการเปิดประวัติศาสตร์บทบาทใหม่ทางการเมืองไทย ในยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475

สภาพสังคมในช่วง พ.ศ.2503-2513 ประเทศไทยมีอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรมากถึงร้อยละ 38.4 หรือเฉลี่ยปีละ 1 ล้านคน ซึ่งถือว่าสูงมาก การเพิ่มขึ้นของประชากรส่งผลกระทบทางสังคมหลายประการ เช่น การอพยพย้ายถิ่นเข้ามาอาศัยอยู่ในเขตเมืองมากขึ้น เกิดกลุ่มอาชีพและกลุ่มชนชั้นกลางทางเศรษฐกิจมากขึ้น อันรวมไปถึง การเพิ่มของชนชั้นแรงงาน ยิ่งรัฐมีนโยบายส่งเสริมให้ประชาชนได้รับการศึกษามากขึ้นเท่าไร ปัญหาที่ตามมาก็คือ การเกิดภาวะคนว่างงานมากขึ้นเท่านั้น เหตุเพราะรัฐบาลไม่สามารถหาแหล่งงานรองรับผู้จบการศึกษาได้เพียงพอ แม้จะมีการลงทุนทางอุตสาหกรรมอยู่ในระดับสูง แต่โรงงานที่เกิดขึ้นมักมีความต้องการแรงงานในระดับต่ำเพราะเป็นโรงงานที่ใช้เครื่องจักรกลเป็นส่วนใหญ่ การเพิ่มขึ้นของประชากรประกอบกับการส่งเสริมการศึกษา และมีการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น ทำให้เกิดชนชั้นใหม่ที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง กล่าวคือ


กลุ่มหนึ่ง คือ กลุ่มนักธุรกิจทั้งในภาคการธนาคาร สถาบันการเงินและอุตสาหกรรมการบริการ เป็นผลสืบเนื่องมาจากรัฐเน้นการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ ผนวกกับการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศ ประกอบกับการใช้จ่ายเงินของสหรัฐอเมริกาในสงครามเวียดนาม ทำให้เกิดภาวะพลวัตในระบบเศรษฐกิจไทย และนำไปสู่การเกิดชนชั้นกลางและเศรษฐีใหม่ขึ้นแม้อำนาจทางการเมืองจะอยู่ในกลุ่มของผู่บริหารบ้านเมือง

กลุ่มที่สอง คือ กลุ่มผู้ใช้แรงงานทั้งในภาคอุตสาหกรรมและบริการ เพราะรัฐมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนทางด้านอุตสาหกรรมทำให้แรงงานในชนบทหลั่งไหลเข้ามาทำงานในเขตเมือง ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม

กลุ่มที่สาม คือ กลุ่มนิสิตนักศึกษาและนักเรียนอาชีวะ ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย เนื่องจากนโยบายขยายการศึกษา อันเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำให้มีผู้สำเร็จการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย และอาชีวศึกษาเป็นจำนวนมาก ผลที่ตามมาก็คือ การไม่สามารถรองรับผู้จบการศึกษาเข้าทำงานได้อย่างเพียงพอ จนเป็นสาเหตุของการว่างงาน และกลายเป็นกระแสความไม่พอใจในหมู่ผู้ที่กำลังศึกษาและผู้ที่ว่างงาน

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้สูญเสียอำนาจทางการเมืองภายหลังการปฏิวัติตัวเองของจอมพลถนอม เช่น กลุ่มที่สนับสนุนพลตำรวจเอกประเสริฐ รุจิวงค์ ที่รอเวลาและโอกาสในการโค่นล้มกลุ่มของจอมพลถนอม

สภาพเศรษฐกิจ
การพัฒนาเศรษฐกิจตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่รัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นต้นมา รัฐส่งเสริมเศรษฐกิจแบบเกษตรกรรมที่เน้นการส่งออกสินค้าเกษตรกรรม ซึ่งก็คือ เกษตรกรหันไปปลูกพืชไร่เพื่อส่งออก แต่พืชไร่มีความไวต่อระบบราคา และต้องใช้ความรู้ในการผลิตการจัดการและการตลาดมากกว่าการเกษตร เพื่อยังชีพ เศรษฐกิจแบบเกษตรกรรมมีผลกระทบต่อโครงสร้างอำนาจทางการเมือง ประกอบกับภาคอุตสาหกรรมที่มุ่งส่งเสริมการลงทุน ในรูปแบบอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้า โดยรัฐบาลให้สิทธิพิเศษกับ นายทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศ เช่น การยกเว้นภาษี การอนุญาตให้นายทุนต่างชาติสามารถถือครองที่ดินได้ เป็นต้น ทำให้ประเทศไทยเริ่มมีการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมโรงงานเพื่อส่งออกและเพิ่มปริมาณมากขึ้น ยิ่งเมื่อประเทศไทยมีนโยบายการพัฒนาจากอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้าสู่อุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็คือ การอพยพแรงงานจากชนบทเข้าสู่เมือง อันส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองในระยะต่อมา

สภาพการเมือง
จอมพลถนอม กิตติขจร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ ๑๐ ของประเทศไทยเมื่อ วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๐๑ บริหารประเทศได้เพียงเก้าเดือนเศษก็ลาออกจากตำแหน่งเพื่อเปิดทางให้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการปฏิวัติ เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๐๑ เพื่อขึ้นเป็นนายยกรัฐมนตรีคนที่ ๑๑ ของประเทศเนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ ไม่เรียบร้อย จอมพลสฤษดิ์ อยู่ตำแหน่งนายกฯ นานสี่ปีกว่าจึงถึงแก่อสัญกรรม ถือเป็นนายกรัฐมนตรีคนเดียวของประเทศ ที่เสียชีวิตในขณะที่อยู่ในตำแหน่ง เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ถึงแก่อสัญกรรม จอมพลถนอม กิตติขจร ก็ได้รับการแต่งตั้ง ให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง

ปัจจัยการเกิดเหตุการณ์รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร รับช่วงบริหารประเทศตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๐๒ สืบต่อจากรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตั้งแต่ปลายปี ๒๕๐๖ มาจนถึงปี ๒๕๑๑ จึงประกาศใช้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งร่างมาตั้งแต่สมัย รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์เมื่อปี ๒๕๐๒ นับเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้เวลาร่างยาวนานมาก และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการร่างมาก ที่สุดยิ่งกว่าธรรมนูญฉบับใด ๆ ที่เคยมีมาในประเทศไทย ( จ่ายเป็นเงินเดือนสมาชิกสภาร่าง ฯ )

เมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญแล้ว จึงกำหนดให้วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๒ เป็นวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จอมพลถนอมตั้งพรรค "สหประชาไทย" เพื่อส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. โดยตัวเองรับตำแหน่งหัวหน้าพรรค มีจอมพล ประภาส จารุเสถียร ซึ่งขณะนั้นยังมียศเป็นพลเอก และนายพจน์ สารสินเป็นรองหัวหน้าพรรค พล.อ.อ. ทวี จุลละทรัพย์ เป็นเลขาธิการพรรค ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคของจอมพลถนอมได้ที่นั่งในสภา ๗๕ ที่นั่งขณะ ที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ ๕๐ กว่าที่นั่ง นอกนั้นเป็น ส.ส. สังกัดพรรคเล็กพรรคน้อย และ ส.ส.อิสระที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองใด

หลังการเลือกตั้ง จอมพลถนอม กิตติขจร ได้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง เข้าบริหารประเทศในบรรยากาศ "ประชาธิปไตยครึ่งใบ" ที่นายกรัฐมนตรีไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอยู่นานสองปีกว่า จึงตัดสินใจปฏิวัติรัฐบาลของ ตัวเองเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๔ โดยอ้างเหตุผลถึง ภัยจากต่างชาติบางประเทศที่เข้ามาแทรกแซงและยุยง ส่งเสริมให้ผู้ก่อการร้ายกำเริบเสิบสานในประเทศ นอกจากนั้นสถานการณ์ภายในประเทศก็เต็มไปด้วยความยุ่งเหยิงนานาประการ ซึ่งคณะปฏิวัติเห็นว่าหากปล่อยให้มีการแก้ไขไปตามวิถีทางของรัฐธรรมนูญแล้ว จะเป็นการล่าช้า จึงตัดสินใจปฏิวัติเพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ของประเทศได้ผลอย่างรวดเร็ว

เมื่อทำการปฏิวัติแล้ว จอมพลถนอมได้จัดตั้งสภาบริหารคณะปฏิวัติขึ้นเพื่อปกครองประเทศ โดยจอมพลถนอม ดำรงตำแหน่งเป็นประธานสภาบริหารคณะปฏิวัติ มีผู้อำนวยการสี่ฝ่ายคือ
๑. พล.อ. ประภาส จารุเสถียร เป็นผู้อำนวยการ ฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของประเทศ
๒. นายพจน์ สารสิน เป็นผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจและ การคลัง
๓. พล.อ.อ. ทวี จุลละทรัพย์ เป็นผู้อำนวยการฝ่ายเกษตรและคมนาคม
๔. พล.ต.อ. ประเสริฐ รุจิวงศ์ อธิบดีกรมตำรวจขณะนั้น เป็นผู้อำนวยการฝ่ายศึกษาและสาธารณสุข

ในการปฏิวัติ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๔ นี้ พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร ลูกชายจอมพลถนอมและเป็นลูกเขย จอมพลประภาส ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยเลขาธิการคณะปฏิวัติ เมื่อการปฏิวัติเสร็จสิ้นลง เขาได้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการตรวจและติดตามผลการปฏิวัติราชการ ( กตป. ) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจมากมาย ในการตรวจตราการปฏิบัติงานของข้าราชการ

ในช่วงที่คณะปฏิวัติขึ้นบริหารประเทศนั้น ตลอดเวลาได้มีเสียงเรียกร้องจากประชาชนอยู่เสมอ ให้คณะปฏิวัติ รีบประกาศใช้รัฐธรรมนูญและจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศให้ถูกต้องตามขั้นตอน ประจวบกับในปี ๒๕๑๕ เป็นปีที่สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ ซึ่งมีพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษาขึ้น สมเด็จพระบรมโอรสสาธิราชสยามมกุฎราชกุมารฯ จึงจำเป็นต้องมีรัฐบาลให้ถูกต้อง ตามธรรมเนียมนิยม เพราะจะจัดให้มีพระราชพิธีในขณะที่ประเทศชาติบ้านเมืองยังอยู่ในระหว่างการปกครองของคณะปฏิวัติไม่ได้

ด้วยเหตุนี้จึงมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักรเมื่อ วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๑๕ ซึ่งมีบทบัญญัติทั้งสิน ๒๓ มาตรา รัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้มี " สภานิติบัญญัติแห่งชาติ" เพียงสภาเดียว โดยประกอบด้วยสมาชิกมีสิทธิ์ตั้งกระทู้ถามรัฐบาลได้ แต่ห้ามอภิปรายหรือซักถามเพิ่มเติม ที่สำคัญคือ สมาชิกไม่มีอำนาจเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี ส่วนรัฐมนตรีนั้นรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดว่าห้ามเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ

สภานิติบัญญัติแห่งชาติตามรัฐธรรมนูญการปกครองฉบับนี้มีมติเลือก พล.ต.ศิริ สิริโยธิน เป็นประธานสภา นิติบัญญัติแห่งชาติ และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า แต่งตั้งจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี

แม้จอมพลถนอม จะเปลี่ยนฐานะจากหัวหน้าคณะปฏิวัติมาเป็นหัวหน้ารัฐบาลที่มีประกาศพระบรมราชโองการ แต่งตั้งก็ตาม ก็ไม่ได้ช่วยให้วิกฤตการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นคลายความตึงเครียดลงไปแต่อย่างใด ในทางการเมืองเกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอำนาจต่าง ๆ โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม พล.ต.อ.ประเสริฐ รุจิรวงศ์ อธิบดีกรมตำรวจ กับกลุ่มของจอมพลถนอมและจอมพลประภาส ซึ่งเหตุการณ์ที่ชี้ให้เห็นความขัดแย้งกัน อย่างรุนแรงก็คือ กรณีการบุกพังป้อมตำรวจ ซึ่งข่าวลือระบุว่าเป็นการกระทำของคนของ พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร นอกจากนั้นยังไม่มีการต่ออายุราชการให้ พล.ต.อ. ประเสริฐเมื่อครบเกษียณแล้วทั้งที่ก่อนหน้านั้นได้มีการต่ออายุราชการให้จอมพลถนอม

ในทางเศรษฐกิจ สิ่งที่แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลจอมพลถนอมไม่สามารถ " บำบัดทุกข์บำรุงสุข " ของประชาชนได้ คือ การขาดแคลนข้าวสาร จนถึงขนาดประชาชนต้องเข้าแถวรอคิวกันอย่างยาวเหยียดตั้งแต่เช้าตรู่ เพื่อซื้อข้าวสารปันส่วนที่ทางราชการนำมาจำหน่ายในราคาควบคุม และซื้อได้คนละไม่เกิน ๑๐ กิโลกรัม มิหนำซ้ำตามมาด้วยขาดแคลน น้ำตาลทรายอีก

นอกจากนี้ได้เกิดกรณีเฮลิคอปเตอร์ตกที่ทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรี คณะนายทหารและนายตำรวจ ชั้นผู้ใหญ่พากันเข้าไปล่าสัตว์ที่ทุ่งใหญ่ฯ โดยใช้อาวุธในราชการสงครามทั้งปืน เอ็ม. ๑๖ รถจี๊ป แม้กระทั่งเฮลิคอปเตอร์ เป็นอุปกรณ์ในการล่าสัตว์ ความได้แตกขึ้นในเที่ยวกลับ เฮลิคอปเตอร์หนึ่งในสองลำเกิดอุบัติเหตุตกลงกลางทุ่งนา อำเภอบางเลน จังหวัด นครปฐม ซากสัตว์ป่าที่บรรทุกมากระจายเกลื่อนทุ่ง เรื่องจึงเป็นข่าวฉาวโฉ่ขึ้น มีการวิพากษ์วิจารณ์ ให้มีการสอบสวนเอาผิดกับคณะบุคคลดังกล่าว แต่เนื่องจากในระยะนั้นนายพลเนวิน ประธานสภาปฏิวัติของ ประเทศพม่า เดินทางมาเยือนประเทศไทย จอมพลประภาส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น จึงพูดใน ทำนองว่าคณะบุคคลดังกล่าวไม่ได้เข้าไปล่าสัตว์ หากแต่เข้าไปราชการลับเพื่อให้การอารักขาแก่ นายพลเนวิน

เหตุการณ์ล่าสัตว์ที่ทุ่งใหญ่ฯนี่เอง ที่ทำให้เรื่องราวเลยเถิดออกไปจนถึงการคัดชื่อนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงจำนวนเก้าคนออกจากบัญชีนักศึกษา เหตุเพราะพวกเขาได้รวมกลุ่มกันออกหนังสือของชมรมคนรุ่นใหม่ชื่อ มหาวิทยาลัยที่ยังไม่มีคำตอบ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยรามคำแหงตั้งข้อหาพวกเขาว่า ตั้งชมรมโดยไม่ได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัย ใช้สถานที่ในมหาวิทยาลัยเป็นชุมนุมเป็นครั้งคราวโดยพลการ เขียนหนังสือก้าวร้าวผู้อื่นด้วยถ้อยคำอันหยาบคาย กล่าวถึงมหาวิทยาลัยรามคำแหงในทางที่ทำให้ผู้อื่นเกลียดชัง ตำหนินักศึกษาที่ตั้งหน้าเล่าเรียน ว่าเป็นคนเห็นแก่ตัว

ด้วยเหตุนี้ ดร. ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยรามคำแหงขณะนั้น จึงสั่งลบชื่อนักศึกษาจำนวนเก้าคนออก ทั้ง ๆ ที่สาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้นักศึกษาเก้าคนถูกลบชื่อออก ก็ คือข้อความลอย ๆ สี่บรรทัดในหน้า ๖ ของหนังสือที่ว่า

" สภาสัตว์ป่าแห่งทุ่งใหญ่ฯ มีมติให้ต่ออายุสัตว์ป่าอีก ๑ ปี เนื่องจากสถานการณ์ภายในและภายนอกเป็นที่ไม่ไว้ใจ"

ข้อความลอย ๆ ดังกล่าวนี้เองที่ถือว่าเป็นการถากถางรัฐบาล ขณะนั้น ต่อกรณีล่าสัตว์ที่ทุ่งใหญ่ฯ และการต่ออายุราชการ ของจอมพลถนอม ในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุด และจอมพลประภาส ในฐานะผู้บัญชาการทหารบกอีกคนละหนึ่งปี โดยที่จอมพลถนอมนั้นเคยได้รับการอายุมาก่อนหน้านั้นครั้งหนึ่งแล้ว

จากกรณีลบชื่อนักศึกษาออกนี่เอง ที่ทำให้นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงรวมตัวประท้วงคำสั่งของ ดร. ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์ อธิการบดี และศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยได้เข้าร่วมสนับสนุนด้วย การประท้วงจึงมีนิสิต นักศึกษาทุกสถาบันประมาณ ๕ หมื่นคนเข้าร่วมขบวนประท้วงที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเมื่อวันที่ ๒๑-๒๒ มิถุนายน ๒๕๑๖ การเรียกร้องในระยะแรกเพียงต้องการให้ มหาวิทยาลัยรามคำแหงรับนักศึกษาทั้งเก้าคนเข้าเป็นนักศึกษาดังเดิม และเรียกร้องให้อธิการบดีลาออก แต่ต่อมาได้มีการเรียกร้องให้รัฐบาลคืนอำนาจการปกครองแก่ประชาชน และเรียกร้องให้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญภายในหกเดือน

ผลลงเอยที่ฝ่ายนักศึกษาชนะ โดยนักศึกษาทั้งเก้าคนได้กลับเข้าเรียนตามปกติ ดร. ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์ ลาออกจากตำแหน่งอธิการบดี แต่ข้อเรียกร้องของศูนย์ฯ ที่ต้องการให้มีรัฐธรรมนูญ ภายในหกเดือนนั้นไร้ผล

จากเหตุการณ์นี้เองที่ทำให้กลุ่มผู้นำของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาฯ ตลอดจนอาจารย์มหาวิทยาลัยและผู้สนใจ ร่วมกันก่อตั้ง " กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ" ขึ้น นำทีมโดย นายธีรยุทธ บุญมี โดยแบ่งระดับของสมาชิกกลุ่มไว้สองระดับ
ระดับที่ ๑ เรียกว่า ผู้เห็นด้วยกับการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ซึ่งขั้นต้นมีอยู่ ๑๐๐ คน
ระดับที่ ๒ เป็นกลุ่มปฏิบัติการ ซึ่งมีตัวเขาเองเป็นผู้ประสานงาน

และในวันศุกร์ที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๑๖ กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญได้นัดสื่อมวลชน เพื่อแถลงข่าวเกี่ยวกับวัตถุประสงค์การดำเนินงานของกลุ่ม ว่าต้องการเรียกร้องให้รัฐบาลประกาศใช้รัฐธรรมนูญ โดยเร็วที่สุดด้วยสันติวิธี ให้การศึกษาทางการเมืองเกี่ยวกับเรื่องรัฐธรรมนูญตามระบอบประชาธิปไตยแก่ประชาชน และเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความสำนึกและหวงแหนในสิทธิเสรีภาพของตน โดยจะใช้เวลาติดต่อกันสองเดือน ในการรณรงค์ และในระยะแรกจะแจกหนังสือและใบปลิวตามย่านชุมชนต่าง ๆ ตลอดเวลาสองวัน

พล.ต.ท. ประจวบ สุนทรางกูร รองอธิบดีกรมตำรวจ ฝ่ายกิจการพิเศษ ได้แถลงว่า "หากการเรียกร้องครั้งนี้ ทำให้เกิดการเดินขบวนขึ้น ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะดำเนินการจับกุมทันทีเพราะเป็นการผิดกฎหมาย คณะปฏิวัติที่ห้ามการชุมนุมทางการเมืองในสาธารณะเกินห้าคน " ในขณะเดียวกัน พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร ได้ให้ สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ว่า "มีอาจารย์มหาวิทยาลัยและนักการเมืองบางคนกำลังดำเนินการให้นักศึกษาเดินขบวนในเร็ว ๆ นี้ และหากมีการให้นักศึกษาเดินขบวนแล้วไม่ผิดกฎหมายอีก ผมก็จะนำทหารมาเดินขบวนบ้าง เพราะทหารก็ไม่อยาก จะไปรบเหมือนกัน"


ลำดับเหตุการณ์

วันเสาร์ที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๖ จงปลดปล่อยประชาชน
๐๙.๑๕ น.กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญประมาณ ๒๐ คน นัดพบกันที่ลานอนุสาวรีย์ทหารอาสา เพื่อนำใบปลิวเรียกร้องให้ ประชาชนร่วมกันต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ และหนังสือเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยมาแจกกับประชาชน หนังสือดังกล่าวได้อัญเชิญพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไว้บนปก ซึ่งมีความว่า " ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าแต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้า ไม่ยินยอมยกอำนาจ ทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดย ไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของราษฎร"

นอกจากนี้ยังมีโปสเตอร์ข้อความต่าง ๆ อีก ๑๖ แผ่น เช่น " น้ำตาเราตกใน เมื่อเราไร้รัฐธรรมนูญ " "จงคืนอำนาจแก่ปวงชนชาวไทย" "จงปลดปล่อยประชาชน" เป็นต้น

๑๐.๐๐ น.
เมื่อซักซ้อมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญก็ถือโปสเตอร์เดินเข้าสู่สนามหลวง เริ่มแจกใบปลิว และหนังสือแก่ประชาชนที่มาตลาดนัด โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจและช่างภาพตามติดไปอย่างกระชั้นชิด หลังจากที่ ตระเวนแจกใบปลิว และหนังสือ บริเวณสนามหลวง กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญได้กลับมาพักเหนื่อยและรอหนังสือ ซึ่งพิมพ์มาเพิ่มเติมที่ลานอนุสาวรีย์ทหารอาสาอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นก็เดินแจกที่บริเวณร้านขายต้นไม้ริมคลองหลอด ด้านรูปปั้นแม่พระธรณีบีบมวยผมข้ามฟากไปหน้ากรมประชาสัมพันธ์สู่ตลาดบางลำพู ถนนสิบสามห้าง

๑๕.๐๐ น.
ขณะที่กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญกำลังแจกใบปลิวและเอกสารแก่ประชาชนบริเวณตลาดประตูน้ำ เจ้าหน้าที่ ตำรวจซึ่งได้ติดตามกลุ่ม ฯ มาจากตลาดนัดสนามหลวง เข้าจับกุมกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ หลายคนหลุดพ้นการจับกุม ไปได้ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงจับกุมได้เพียง ๑๑ คน คือ
๑.นายธีรยุทธ บุญมี อดีตเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
๒.นายประพันธ์ศักดิ์ กมลเพชร อดีตอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอดีตนักการเมืองแห่งขบวนการรัฐบุรุษ
๓.นายนพพร สุวรรณพานิช ประจำกองบรรณาธิการนิตยสาร มหาราษฎร์
๔.นายทวี หมื่นนิกร อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๕.นายมนตรี จึงศิริอารักษ์ นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ปี ๑ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
๖.นายปรีดี บุญซื่อ นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ปี ๔ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๗.นายชัยวัฒน์ สุระวิชัย วิศวกรสุขาภิบาล (จุฬา) อดีตกรรมการบริหารศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
๘.นายบุญส่ง ชเลธร นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ปี ๒ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
๙.นายวิสา คัญทัพ นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ ปี ๓ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
๑๐.นายบัณฑิต เองนิลรัตน์ นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ ปี ๔ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๑๑.นายธัญญา ชุนชฎาธาร นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ปี ๔ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญทั้ง ๑๑ คน ถูกนำตัวไปสอบสวนที่สันติบาล กอง ๒ กรมตำรวจ ปทุมวัน ตกเย็นยกกำลัง เข้าค้นบ้านและสถานที่ที่ผู้ถูกจับกุมมีส่วนเกี่ยวข้อง พร้อมทั้งตั้งข้อหา " มั่วสุ่มชักชวนให้มีการชุมนุมทางการเมือง"

วันอาทิตย์ที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๑๖๐๐.๓๐ น.
หลังจากถูกสอบสวนเสร็จแล้ว ผู้ถูกควบคุมทั้ง ๑๑ คนก็ถูกนำตัวขึ้นรถไปกักกันไว้ที่โรงเรียนพลตำรวจ นครบางเขนและนำตัวไปควบคุมไว้ร่วมผู้ต้องหาในคดีมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ และผู้ต้องหาเนรเทศ เมื่อผู้ถูกควบคุมทั้ง ๑๑ คนไปถึง ก็ถูกแยกห้องขังเพื่อป้องกันมิให้ปรึกษากัน เจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งข้อหาแก่ผู้แก่ผู้ถูกจับกุม ว่า "ขัดขืนคำสั่งคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๔" และเพิ่มข้อหา "ขบถภายในราชอาณาจักร" ตามกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๖

๑๓.๐๐ น.
ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์คัดค้านการจับกุมของรัฐบาลเผด็จการ " ถนอม - ประภาส" นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เลขาธิการศูนย์ฯ ได้ แถลงว่า การจับกุมครั้งนี้เป็นการแสดงว่า รัฐบาลไม่ต้องการ ให้ประชาชนรู้เรื่องประชาธิปไตย มุ่งสร้างอาณาจักรแห่งความกลัวให้แก่ประชาชนและได้แถลงต่อไปว่า "ทางศูนย์ฯ จะยืนหยัดร่วมกับประชาชนในการพิทักษ์รักษาสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิเสรีภาพอันชอบธรรม"

๑๔.๐๐ น.
เจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาลร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจหัวหมากได้ไปจับกุมตัว นายก้องเกียรติ คงคา นักศึกษา คณะนิติศาสตร์ ปี ๓ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จากหอพักไปสอบสวนที่กองกำกับการตำรวจสันติบาล ๒ เพิ่มอีกคนหนึ่ง โดยตั้งข้อหาเช่นเดียวกับกลุ่มผู้ต้องหา ๑๑ คน จากกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ทั้งที่ นายก้องเกียรติไม่มีชื่อปรากฎ ในเอกสารของกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ และไม่ได้ไปร่วมแจกใบปลิวและหนังสือร่วมกับกลุ่มฯ ในวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๖ แต่อย่างใด

๒๑.๐๐ น.
กลุ่มอิสระ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพื่อนและผู้ร่วมงานกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญได้เข้าติดต่อกับ นายพีรพล ตรียะเกษม นายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ( อมธ. ) และสมาชิกสภาธรรมศาสตร์ เพื่อเสนอแผน การประท้วงการกระทำของรัฐบาลโดยฉับพลัน กลุ่มอิสระเสนอว่า อมธ. ควรชักชวนให้นักศึกษาธรรมศาสตร์หยุดสอบ และชุมนุมเพื่อทำการประท้วง โดยเรียกร้องให้สถาบันอื่น ๆ ร่วมมือด้วย แต่เนื่องจากในวันรุ่งขึ้นเป็นวันสอบ กลางปีมหาวิทยาลัย ซึ่งนักศึกษามาที่มหาวิทยาลัยน้อย และนักศึกษาส่วนใหญ่อาจลังเลเพราะเป็นห่วงเรื่องสอบ

กลุ่มอิสระจึงเสนอให้ อมธ. ปิดตึกเรียนโดยใช้โซ่ล่ามประตูเหล็กทุกประตู เอาลวดและปูนปลาสเตอร์อุดรูกุญแจ แผนการนี้นายก อมธ. ยังไม่เห็นด้วย เพราะเกรงปฏิกิริยาจากนักศึกษาส่วนใหญ่ซึ่งต้องการจะสอบ แต่มีสมาชิก อมธ. บางคนเห็นด้วยกับแผนการนี้ อมธ. และกลุ่มอิสระจึงตกลงกันว่า นักศึกษาธรรมศาสตร์จะต้องทำการประท้วง โดยเริ่มปิดโปสเตอร์โจมตีการกระทำของรัฐบาลก่อน เพื่อดูท่าทีของนักศึกษา ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย และสถาบันอื่นได้เสนอให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์พยายามตรึงเหตุการณ์จนถึงวันที่ ๑๒ ตุลาคมให้ได้ แล้วสถาบันอื่น ที่สอบเสร็จจะนำกำลังเสริม ถ้าตรึงไม่ถึงวันที่ ๑๒ ตุลาคม อาจจะพ่ายก็ได้

วันจันทร์ที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๑๖สันติบาลออกหมายจับ นายไขแสง สุกใส อดีต ส.ส. นครพนม ทั่วประเทศ เนื่องจากการค้นสำนักงาน " ธรรมรังสี" ได้พบเอกสารส่อว่า นายไขแสง มีส่วนชักใยในการเรียกร้องรัฐธรรมนูญครั้งนี้
๐๘.๐๐ น.
ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ปรากฏแผ่นโปสเตอร์โจมตีการกระทำของรัฐบาลอย่างรุนแรงหลายแผ่น ติด ทั่วมหาวิทยาลัย โดยชักชวนให้นักศึกษารวมกลุ่มกันไปเยี่ยมผู้ที่ถูกคุมขังที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒปัจจุบัน ) มีนักศึกษาจำนวนนับพันก่อปฏิกิริยาต่อเนื่อง ชุมนุมเรียกร้องรัฐธรรมนูญอย่างเปิดเผยภายในรั้ววิทยาลัย

ที่จังหวัดเชียงใหม่ มีรายงานแจ้งว่า มี "มือมืด" โปรยใบปลิวทั่วเมืองเชียงใหม่ รวมทั้งปิดโปสเตอร์ไว้ ตามถนนสายต่าง ๆ มีข้อความกล่าวสนับสนุนเพื่อนนักศึกษาที่เรียกร้องรัฐธรรมนูญและกล่าวโจมตีรัฐบาล นายกสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่แถลงว่า กำลังติดตามข่าวและจะส่งผู้แทนนักศึกษามาร่วมหารือกับศูนย์ฯ ที่กรุงเทพฯ

๑๕.๐๐ น.
ที่กระทรวงมหาดไทยได้มีการประชุมข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของกระทรวงโดยมีจอมพล ประภาส จารุเสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในที่ประชุม การประชุมนี้ จอมพลประภาส ได้พยายามบิดเบือนต่อพลังอันบริสุทธิ์ใจของประชาชนในการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ นับตั้งแต่กรณีนิสิตนักศึกษาประท้วง ดร. ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์ ขับนักศึกษาเก้าคนออกจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง จนถึงการเรียกร้องรัฐธรรมนูญของกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญในวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๖ ว่ามีพวกคอมมิวนิสต์จากต่างประเทศเข้าแทรกแซงจึงจำเป็นต้องหาทางกำจัดนิสิตนักศึกษาร้อยละ ๒ จากจำนวนแสนคนเพื่อความอยู่รอดของบ้านเมือง

๑๕.๓๐ น.
กรมตำรวจมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาลทั้งหมดรวมทั้งเจ้าหน้าที่กองปราบและสันติบาล เตรียมพร้อมเพื่อรับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นที่ธรรมศาสตร์ อมธ. และกลุ่มอิสระเข้าประชุมกันอย่างลับ ๆ ณ ตึกที่ทำการ เพื่อหาทางออกสำหรับกรณีที่เกิดขึ้น และเลื่อนกำหนดสอบออกไปโดยไม่มีกำหนด ผลของการประชุมตกลงกันในแผนการที่จะปิดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมทั้งออกแถลงการณ์ให้นิสิตนักศึกษาทราบด้วย

๒๑.๐๐ น.
อมธ. และกลุ่มอิสระเริ่มดำเนินการตามแผน โดยการเริ่มเขียนโปสเตอร์ใช้ถ้อยคำโจมตีรัฐบาลหนักขึ้น ปิดทั่วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมทั้งเรียกร้องให้นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์งดสอบ และร่วมชุมนุมประท้วง ที่ลานโพธิ์ ในขณะเดียวกัน นักศึกษาธรรมศาสตร์อีกส่วนหนึ่งได้แยกย้ายกันไปเอาโซ่และลวดล่ามประตู เอาปูนปลาสเตอร์ อุดรูกุญแจห้องสอบทุกคณะและตัดสายไฟเพื่อให้ลิฟต์ทุกตึกใช้การไม่ได้ ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาที่มาสอบ ในวันรุ่งขึ้น เข้าห้องสอบไม่ได้

วันอังคารที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๑๖๐๔.๐๐ น.
ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นักศึกษาระดมกำลังกันช่วยติดโปสเตอร์บริเวณประตูทางเข้ามหาวิทยาลัย ทุกประตู และทั่วบริเวณมหาวิทยาลัย ข้อความในโปสเตอร์เป็นข้อความประกาศงดสอบ ชักชวนให้นักศึกษาไปร่วมกัน ประท้วงที่ลานโพธิ์ หน้าตึกคณะศิลปศาสตร์และประมาณการกระทำของรัฐบาลอย่างเปิดเผย โดยเฉพาะประตูด้านท่าพระจันทร์ มีผ้าผืนใหญ่มีข้อความว่า " เอาประชาชนคืนมา " และผ้าผืนหนึ่งที่ลานโพธิ์ด้านหลังเวทีอภิปราย มีข้อความว่า" ต้องการรัฐธรรมนูญเป็นกบฏหรือ" และผ้าอีกผืนหนึ่งที่ประตูด้านสนามหลวงแขวนบน แผ่นป้ายหินอ่อน มีใจความว่า "ธรรมศาสตร์ตายเสียแล้วหรือ" นอกจากนี้ก็มีโปสเตอร์โจมตีรัฐบาล อีกหลายสิบแผ่น เช่น
"๑๒ คนเป็นกบฎ คนทั้งชาติ ก็เป็นกบฏ คนทั้งชาติก็เป็นกบฏบุคคลที่เป็นกบฏคือบุคคลที่ไม่ยอมคืนอำนาจให้ประชาชน" " ข้อห้ามมั่วสุมทางการเมืองและกบฏภายในราชอาณาจักรเหมาะสำหรับใคร"
"ขอให้พวกเราจับมือกัน ลุกจากกองตำรา สลัดแอกทางการศึกษา ปลดปล่อยเพื่อนทั้ง ๑๒ คน"
"ถ้าผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญเป็นกบฏ เราก็อยากเป็นกบฏเต็มแก่แล้ว"
"เขาสู้เพื่อเรา เราจะสู้เพื่อเข้าไม่ได้เชียวหรือ" ฯลฯ

๐๘.๐๐ น.
นักศึกษาทยอยกันมาที่มหาวิทยาลัย แต่ตึกเรียนทุกตึกถูกปิดตายทั่วมหาวิทยาลัย มีแผ่นโปสเตอร์ " งดสอบ ไปรวมกันที่ลานโพธิ์" ติดอยู่เต็ม ดังนั้น นักศึกษาทั้งหมดจึงออกมาชุมนุมวิพากษ์วิจารณ์เป็นกลุ่ม ๆ ที่บริเวณลานโพธิ์ ในขณะเดียวกัน อมธ.ก็เริ่มออกกระจายเสียงในบริเวณนั้น ทำให้นักศึกษาซึ่งไม่สามารถเข้าตึกสอบได้มารวมตัวกัน มากขึ้น นักศึกษาธรรมศาสตร์ได้ลดธงชาติลง และชักธงดำขึ้นสู่ยอดเสาแทน แต่คณบดีคณะศิลปศาสตร์ได้ขอร้อง ให้ชักธงชาติขึ้นสู่ยอดเสาตามเดิม นักศึกษาก็ปฏิบัติตามด้วยดี เมื่อใกล้เวลา ๑๐.๐๐ น. มีนักศึกษามาชุมนุมกัน ประมาณเกือบ ๑,๐๐๐ คน ทางอมธ. ได้เริ่มรับบริจาคเงินในการต่อสู้ด้วย

๑๐.๐๐ น.
ที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร นักศึกษาประมาณพันกว่าคนได้เข้าไปชุมนุมกันในหอประชุมใหญ่ เป็นวันที่ ๒ อภิปรายโจมตีรัฐบาลในด้านการปกครอง การบริหาร และการสร้างทายาททางการเมืองของระบอบเผด็จการ " ถนอม - ประภาส" และการคอร์รัปชันอย่างดุเดือด พร้อมกับออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลปล่อยผู้ต้องหาทั้ง ๑๒ คน ภายในวันที่ ๑๓ ตุลาคม และให้รัฐบาลประกาศใช้รัฐธรรมนูญในวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๑๖

ในขณะเดียวกัน ทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นักศึกษาใช้ชื่อว่า " กลุ่มนักศึกษาผู้รักชาติ" ออกแถลงการณ์ เรียกร้องรัฐธรรมนูญและโจมตีรัฐบาล แต่ยังไม่มีการเคลื่อนไหวอย่างรุนแรงเพราะอยู่ในระหว่างการสอบประจำภาค แต่ก็มีโปสเตอร์ติดอยู่บ้าง เช่นชักชวนว่า "เราจะพบกันที่กรุงเทพ"

๑๐.๓๐ น.
นายไขแสง สุกใส ที่ถูกรัฐบาลประกาศจับทั่วประเทศในข้อหาเป็นตัวการยุยงให้นิสิตนักศึกษา ประชาชน เรียกร้องรัฐธรรมนูญ ได้เข้ามอบตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาลที่กองบังคับตำรวจสันติบาล ๒ และกล่าวว่า ตนเป็นผู้บริสุทธิ์ จะเอาไปประหารชีวิตก็ยอม

๑๑.๐๐ น.
นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงประมาณ ๒,๐๐๐ คน ได้ปิดโปสเตอร์โจมตีรัฐบาล และชุมนุมกันอภิปราย ที่อนุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหง เรียกร้องให้มหาวิทยาลัยรามคำแหงเลื่อนการสอบประจำภาค และประกาศจะชุมชุนกัน ทุกวันจนกว่ารัฐบาลจะปล่อยตัวผู้ถูกจับกุม ทางด้านเวทีอภิปรายบริเวณลานโพธิ์ นิสิตนักศึกษาจากวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนา บริหารศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมไฮด์ปาร์ค

๑๕.๓๐ น.
ในขณะที่นักศึกษากำลังไฮด์ปาร์ค อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จำนวน ๒๐๕ ค ซึ่งประชุมกัน มาตั้งแต่ตอนเช้า มีมติเป็นเอกฉันท์ทำหนังสือด่วนมากถึงจอมพล ถนอม กิตติขจร เรียกร้องให้ปลดปล่อยผู้เรียกร้อง รัฐธรรมนูญทั้ง ๑๓ คนโดยด่วน

๑๖.๐๐ น.
นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลและวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตรเริ่มทยอยเข้าประชุมโจมตีรัฐบาล ที่ลานโพธิ์

๑๖.๔๕ น.
ที่ทำเนียบรัฐบาล มีคำสั่งของนายยกรัฐมนตรี โดยมติของคณะรัฐมนตรี ให้ใช้อำนาจ ม. ๑๗ สั่งควบคุมตัว นายไขแสง สุกใส กับพวก (๑๓ ผู้ต้องหา)ไว้จนกว่าการสอบสวนนี้จะเสร็จสิ้น

๑๗.๐๐ น.
ภายหลังการประชุมคณบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้ว นายสัญญา ธรรมศักดิ์ อธิการบดี ได้ออกประกาศ ของมหาวิทยาลัยเลื่อนการสอบภาคแรกออกไปจนกว่าเหตุการณ์จะกลับคืนสู่ภาวะปกติ

๒๑.๐๐ น.
รัฐบาลแถลงเหตุผลในการจับกุม ๑๓ คน "ไม่ใช่เพราะเรียกร้องรัฐธรรมนูญ แต่จับกุมในฐานะที่มีการกระทำ อันเป็นภัยต่อความสงบสุขของพี่น้องประชาชน" ในขณะเดียวกันที่ลานโพธิ์ นักศึกษายังคงชุมนุมกันอยู่ประมาณ ๑ หมื่นคนเพื่อฟังอภิปรายโจมตีรัฐบาล แม้จะมีฝนตกลงมาประปรายตั้งแต่ตอนบ่ายก็ตาม เมื่อถึงเวลา ๒๓.๐๐ น. ฝนยังคงตกอยู่อย่างไม่หยุดหย่อน นักศึกษาจึงย้ายการชุมนุมจากลานโพหน้าตึกคณะอภิปรายเล่นละคร ลิเก เสียดสีการเมือง ร้องเพลงปลุกใจ มีการฉายภาพยนต์การเดินขบวนขับไล่ ดร. ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์ ภาพยนตร์สงครามและชีวิตในเวียดนาม ในขณะที่นิสิตนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยในส่วนกลางกำลังชุมนุมกันแสดงปฏิกิริยาประท้วงการจับกุมผู้เรียกร้อง รัฐธรรมนูญกันอย่างตึงเครียดยิ่งขึ้นทุกขณะนั้น ปฏิกิริยา เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ขยายวงกว้างออกไปยังนักเรียน นักศึกษาต่างจังหวัด

วันพุธที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๑๖๐๘.๐๐ น.
ฝนหยุดตก นักเรียนนิสิตนักศึกษาทยอยออกจากหอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาชุมชุนที่ลานโพธิ์ นักเรียนนิสิตนักศึกษาทยอยเข้ามาตลอดเวลาจนกระทั่งเต็มตึกคณะศิลปศาสตร์ทั้ง ๘ ชั้น และล้นออกมานอกบริเวณ ลานโพธิ์ หลังจากนั้น ดร. อดุล วิเชียรเจริญ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขึ้นปราศรัยเพื่อขอให้ นักศึกษากระทำการอย่างรอบคอบ อย่าใช้อารมณ์ อยู่ในความสงบ และชุมนุมกันแต่ภายในมหาวิทยาลัย

๑๐.๐๐ น.
นิสิตนักศึกษาทั้งระดับอุดมศึกษาและวิทยาลัยเฉพาะในกรุงเทพทยอยเข้าสู่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีนักศึกษาวิทยาลัยครูพระนคร วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา วิทยาลัยครูธนบุรี ไม่ต่ำกว่า ๑,๐๐๐ คน นักเรียนช่างกลและก่อสร้างประมาณ ๒,๐๐๐ คน จากโรงเรียนช่างกลสยามและอื่น ๆ ทยอยเข้าสมทบ วิทยาลัยครูสวนสุนันทาและวิทยาลัยวิชาการศึกษา ได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมพร้อมทั้งแจ้งต่อหน้าฝูงชนที่เวทีอภิปราย ว่ากำลังส่วนใหญ่กำลังเดินทางเข้ามาเรื่อย ๆ การชุมนุมครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่นักเรียนอาชีวะ ได้มีส่วนร่วมในการต่อสู้ ทางการเมือง พวกเขาได้กล่าวว่าพวกตนเป็นฝ่ายที่มีความรู้น้อย แต่จะขอร่วมมือต่อสู้ทางการเมือง พวกเขาได้มีส่วนร่วมในการต่อสู้ทางการเมือง พวกเขาได้กล่าวว่าพวกตนเป็นฝ่ายที่มีความรู้น้อย แต่จะขอเข้าร่วมมือต่อสู้กับรุ่นพี่ จนถึงที่สุด ถ้าเป็นเรื่องของการใช้แรงแล้ว ยินดีเข้าช่วยด้วยเต็มที่และต่อไปนี้ไม่ว่าจะเป็นช่างกลหรือช่างก่อสร้าง จะไม่มีการทะเลาะต่อยกันอีกแล้ว

๑๐.๓๐ น.
จอมพลถนอมให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า ได้ทราบจากเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจค้นบ้านผู้ต้องหา พบเอกสารเกี่ยวกับ การล้มล้างรัฐบาลรวมทั้งโปสเตอร์ที่ไม่ได้มุ่งหมายจะเรียกร้องรัฐธรรมนูญอย่างเดียว จึงตั้งข้อหาเพิ่มในฐานะ ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงต่อรัฐ และจากเอกสารที่ได้มาพบว่ามีเอกสารของพรรคคอมมิวนิสต์ แผนดำเนินการแบบ คอมมิวนิสต์ จึงตั้งข้อหามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์

๑๓.๐๐ น.
นิสิตนักศึกษาทุกสถาบันทยอยมาชุมชุนที่ลานโพเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ผู้แทนของแต่ละสถาบันผลัดกัน ขึ้นพูดสลับกับเพลงปลุกใจ ตั้งแต่ ๑๔.๐๐ - ๑๗.๐๐ น. ที่ลานโพธิ์มีนิสิตนักศึกษาอยู่เต็มไปหมด และทยอยมา เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สถาบันการศึกษาต่างส่งตัวแทนขึ้นประกาศว่าจะงดการสอบการเรียนจนกว่าผู้ถูกจับกุมทั้ง ๑๓ คน จะได้รับความเป็นธรรม และทุกคนจะมาร่วมต่อสู้ให้ถึงที่สุด ณ ลานโพธิ์แห่งนี้ทุกวัน ในระหว่างพักการอภิปรายโจมตีรัฐบาลนักเรียนนิสิตนักศึกษาได้ร้องเพลง "สู้ไม่ถอย" ซึ่งเป็นเพลงแห่งการต่อสู้ ที่นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ได้แต่งขึ้น มีเนื้อร้องดังนี้ "สู้เข้าไปอย่าได้ถอย ( สองครั้ง ) มวลชนคอยเอาใจช่วยอยู่รวมพลังทำลายเหล่าศัตรูพวกเราสู้เพื่อความยุติธรรมเราเดินเคียงบ่าเคียงไหล่ก้าวเดินไปด้วยใจมุ่งมั่นเขาจะฟาดเขาจะฟันเราไม่พรั่นพวกเราสู้ตาย สู้เข้าไปอย่าได้หนี ( สองครั้ง )เพื่อเสรีอันยิ่งใหญ่รวมพลังพวกเราเหล่าชาวไทยสู้ขาดใจพวกเราเสรีชน"

๑๔.๐๐ น.
ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย เรียกกรรมการบริหารศูนย์ฯ เข้าร่วมปรึกษาหารือและวางแผนใน การผนึกกำลังกันรณรงค์ต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการ "ถนอมประภาส" และเข้าร่วมการชุมนุมประท้วงในครั้งนี้โดยที่ประชุม มีมติให้ศูนย์ฯ รับช่วงงานในการต่อสู้จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เหตุการณ์ทำท่าจะรุนแรงหนักขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากจอมพลถนอมได้รับรายงานเกี่ยวกับการอภิปรายโจมตี อย่างรุนแรงของนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่า บุคคลที่ถูกโจมตีมากที่สุด คือ จอมพล ถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร และ พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร นิสิตนักศึกษาประกาศว่าจะต้องต่อสู้อย่างถึงที่สุด ขนาดที่ให้บุคคลทั้งสามต้องล้มหายตายจากกันไปเสียเลย

เมื่อได้รับรายงานเช่นนี้ จอมพล ถนอมได้ตัดสินใจ เรียกประชุมคณะรัฐมนตรีเป็นกรณีฉุกเฉินขึ้น ในตอนบ่ายวันที่ ๑๐ ตุลาคม ที่ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก สวนรื่นฤดี ซึ่งเป็นที่ตั้งกองอำนวยการปราบปรามคอมมิวนิสต์รายงานข่าวแจ้งว่าบรรยากาศ การประชุมเป็นไปอย่างเคร่งเครียด และได้มติแต่งตั้งจอมพลประภาส จารุเสถียร รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้อำนวยการรักษาความสงบ ส่วนการ ประชุมนี้นอกจากจะมีคณะรัฐมนตรีแล้ว ยังมีแม่ทัพสามเหล่าทัพ และนายทหารระดับสูงในส่วนกลางทยอยเข้าไป รับนโยบายและคำสั่งจากศูนย์ปราบปรามจลาจล คณะทนายแห่งสโมสรเนติบัณฑิตยสภาได้แจ้งมายังศูนย์กลางนิสิตนักศึกษา ฯ ว่าขอสนับสนุนและเห็นด้วย กับการกระทำของนิสิตนักศึกษา

๒๐.๓๐ น.
มีนิสิตนักศึกษา นักเรียนและประชาชนมาชุมนุมที่บริเวณลานโพธิ์กว่า ๒ หมื่นคน ทำให้แออัดยัดเยียด อมธ. จึงสั่งย้ายการชุมนุมจากลานโพไปสนามฟุตบอลหน้าตึกสภานักศึกษา

วันพฤหัสบดี ๑๑ ตุลาคม ๒๕๑๖๐๖.๐๐ น.
นับเป็นวันที่ ๓ ของการปักหลักชุมนุมประท้วงเรียกร้องของนักศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากพักผ่อนด้วยการนั่งและนอนฟังการอภิปราย นิสิตนักศึกษาจึงได้พัก การอภิปราย และได้นิมนต์พระภิกษุจากวัดมหาธาตุประมาณ ๒๐๐ รูปเข้าไปในสนามฟุตบอล แล้วร่วมกันตักบาตร จากนั้นช่วยกันเก็บกวาด เผาทำลายขยะที่เกลื่อนสนามตั้งแต่เมื่อคืนจนเรียบร้อย

๐๙.๐๐ น.
นักเรียนอาชีวะจากเกือบทุกสถาบันทั่วกรุงเทพ ฯ และจังหวัดใกล้เคียงหลั่งไหลมามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และที่กำลังเดินทางมาก็ยังมีอีกมาก รวมทั้ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประมาณ ๕,๐๐๐ กว่าคนซึ่งงดสอบกลางคันโดยทางมหาวิทยาลัยประกาศให้ความร่วมมือ ในวันเดียวกันนั้น สถาบันต่าง ๆ ได้ออกแถลงการณ์สนับสนุนนิสิตนักศึกษา และไม่เห็นด้วยกับการกระทำ ของรัฐบาล เช่น สถาบันฝึกหัดครู ศูนย์กลางนักเรียน สภาคณาจารย์จุฬาฯ คณาจารย์วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยี องค์การนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรฯ และคณาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยื่นหนังสือถึงจอมพลถนอมอีกครั้ง

๑๒.๐๐ น.
ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นิสิตเกษตรฯ ประมาณ ๕,๐๐๐ คน ได้เคลื่อนขบวนมาถึง นักศึกษาวิทยาลัยครูจันทรเกษม นักศึกษาวิทยาลัยครูพระนคร นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคสยาม นักศึกษาเทคนิคพระนครเหนือ นักเรียนช่างกลสยาม โรงเรียนช่างกล อุตสาหกรรมบางแค และนักเรียนช่างกลนักเรียนก่อสร้างจากสถาบันต่าง ๆ มาสมทบกันเป็นจำนวนมาก ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาฯ เข้าปฏิบัติหน้าที่ในการประสานงานและรวมพลังมวลชนในการต่อสู้กับรัฐบาล "ถนอม - ประภาส" แทน อมธ. ตามแผนงานและหน่วยงานที่วางไว้เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๑๖ และได้มอบหมายให้ นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล เป็นหัวหน้าโฆษกประจำเวที นายสมบัติ ธำรงค์ธัญญวงศ์ เลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาฯ ได้ประกาศให้ที่ชุมนุมทราบถึงผลการเจรจา กับจอมพลประภาส อธิบดีกรมตำรวจ ว่าไร้ผล เพราะจอมพลประภาสไม่ยอมตกลงใด ๆ ทั้งสิ้น ปฏิกิริยาของที่ชุมนุมเริ่มแรงขึ้น คณะกรรมการบริหารศูนย์ ฯ ประชุมกันที่สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากรเพื่อสรุปประเด็นในการต่อสู้ และตกลงกันว่าจะต้องมีมาตรการขั้นสุดท้ายคือเดินขบวน และรณรงค์ต่อไปด้วยวิธี "อหิงสา" จนกว่าจะประสบผลสำเร็จ ตามตั้งเป้าหมายไว้

๑๔.๐๐ น.
จอมพล ประภาส จารุเสถียร อธิบดีกรมตำรวจ ได้ให้สัมภาษณ์ แก่หนังสือพิมพ์ที่วังปารุสกวันว่า ไม่ได้ตกลง อะไรกับนิสิตนักศึกษาที่มาพบ การจับผู้ต้องหา ๑๓ คนไว้ไม่ปล่อย ก็เพราะได้ค้นพบว่าบางคนมีหลักฐานเอกสาร กำหนดการที่จะเรียกร้องระดมชักชวนให้ประชาชนกระด้างกระเดื่องต่อรัฐบาลและล้มล้างรัฐบาล จึงต้องควบคุมไว้ต่อไป

๑๖.๓๐ น.
เป็นเวลาที่นักเรียนเลิกจากการเรียน และข้าราชการ ประชาชน เลิกจากการงานแล้ว จึงมีนักเรียน ข้าราชการ ประชาชนมาสมทบเพิ่มขึ้น ทำให้จำนวนผู้ชุมชนต่อต้านเพิ่มมากขึ้นมากกว่า ๖ หมื่นคน และประมาณได้ว่าร้อยละ ๒๐ ไม่ใช่นักเรียน นิสิตนักศึกษา

๒๐.๐๐ น.
สถานีโทรทัศน์ทุกแห่งออกข่าวถึงหลักฐานในการจับกุมผู้ต้องหา นับเป็นครั้งแรกที่โทรทัศน์ได้กล่าวถึง เหตุการณ์ที่ชุมนุมประท้วงของนิสิตนักศึกษา ทางรัฐบาลให้ความมั่นใจแก่ประชาชนว่าเหตุการณ์ไม่ร้ายแรงแต่อย่างใด เส้นทางระหว่างธรรมศาสตร์กับสวนรื่นฤดี มีรถตรวจการณ์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจและสารวัตรทหารบก วิ่งตรวจตรา มากกว่าปกติ ส่วนทางด้านโรงพยาบาลของรัฐทั่วกรุงเทพฯ นั้น ได้รับคำสั่งเตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์รุนแรง ที่อาจเกิดขึ้นได้

วันศุกร์ที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๑๖การจราจรบนถนนทุกสายในกรุงเทพ ฯ โดยเฉพาะสายที่มุ่งไปธรรมศาสตร์ เกิดการติดขัดอย่างมาก เพราะคลื่นฝูงชน ของขบวนนักเรียน นิสิตนักศึกษา ทั้งในกรุงเทพฯ และต่าง จังหวัด ตั้งแต่ระดับประถมจนถึง ระดับสูงกว่าปริญญาตรี ทั้งที่เป็นของรัฐบาลและเอกชน ได้ถือโปสเตอร์ที่บรรจุข้อความและการ์ตูนการเมืองต่าง ๆ กัน เดินทางมุ่งสู่ธรรมศาสตร์เนืองแน่นไปหมด ในขณะเดียวกันที่จุฬาฯ สโมสรนิสิตจุฬาฯ ประกาศงดสอบ และจัดให้มี การอภิปรายขึ้นที่หน้าตึกจักรพงศ์ จนกระทั่งถึงเวลา ๑๑.๐๐ น. นิสิตจุฬาฯ จำนวนหนึ่งจัดขบวนเดินทางไปธรรมศาสตร์

๑๑.๐๐น.
นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพจำนวนมาก ได้มุ่งหน้าสู่ธรรมศาสตร์โดยเดินขบวนจากทุ่งมหาเมฆมาสู่ธรรมศาสตร์ พร้อมกับถือโปสเตอร์โจมตีรัฐบาลหลายแผ่น เช่น "นี่แหละกบฏ" "เราเสียภาษีซื้ออาวุธให้มันแต่มันกลับใช้ประหารเรา" ในระหว่างที่ยังมีการชุมนุมประท้วงกันอยู่นั้น ปรากฏว่าได้มีแถลงการณ์ของอาจารย์มหาวิทยาลัยออกแถลงการณ์ชี้แจงเรื่องหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำผิดของกลุ่มผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญ ซึ่งทางกรมตำรวจได้นำออกเปิดเผยว่า การทำผังแสดงโครงสร้างทางการเมืองเป็นเพียงเครื่องมือประกอบในการสอนวิชาการเมืองเท่านั้น เพื่อช่วยให้นักศึกษาเข้าใจโครงสร้างทางการเมืองของประเทศต่าง ๆ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ฉะนั้นการทำผังแสดงโครงสร้าง อำนาจทางการเมืองของไทยจึงไม่ถือเป็นเรื่องผิดปกติอย่างไร และหนังสือเกี่ยวกับลัทธิมาร์กซิสม์ เลนินนิสม์ เมาอิสม์ คอมมิวนิสต์ และสงครามกองโจรเป็นตำราที่ใช้เรียกกันตามปกติในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วโลก และก็ใช้เป็นตำราเรียน มหาวิทยาลัยไทยด้วย นอกจากนี้ยังมีจำหน่ายตามร้านหนังสือโดยทั่วไป หากจะถือว่าการอ่านและการมีหนังสือเหล่านี้ ในครอบครองมีความผิดก็หมายความว่าห้องสมุดในมหาวิทยาลัยต่าง ๆในประเทศไทย อาจารย์มหาวิทยาลัยทุกคน ที่เรียนทางสังคมศาสตร์ และร้านจำหน่ายหนังสือจะต้องมีความผิดด้วย

๑๒.๐๐ น.
นายสมบัติ ธำรงค์ธัญญวงศ์ เลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษา ฯ ได้ประกาศ แถลงการณ์ของศูนย์ มีใจความว่า ให้ปลดปล่อยผู้ต้องหาทั้ง ๑๓ คนภายใน ๒๔ ชั่วโมง นับตั้งแต่เที่ยงวันที่ ๑๒ ตุลาคมถึงเที่ยงวันเสาร์ที่ ๑๓ ตุลาคม ๑๖ ถ้าไม่ได้รับคำตอบจากรัฐบาลเป็นที่น่าพอใจ จะใช้มาตรการขั้นเด็ดขาด

๑๔.๐๐ น.
ที่กองบัญชาการปราบปรามจลาจล สวนรื่นฤดี จอมพลถนอม นายกฯ ได้เรียกประชุมคณะรัฐมนตรีเนื่องจาก ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาฯ ได้ยื่นคำขาดเป็นหนังสือถึงคณะรัฐมนตรีโดยผ่านรัฐมนตรีทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ ให้ปล่อยผู้ต้องหาทั้ง ๑๓ คนโดยไม่มีเงื่อนไข ๆ ทั้งสิ้นภายใน ๑๒.๐๐ น.ของวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๑๖ การประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมได้ตกลงในหลักการให้ปล่อยผู้ต้องหาทั้ง ๑๓ คนได้โดยมีการประกันตัว ส่วนข้อกล่าวหา ว่าเป็นกบฏและคอมมิวนิสต์นั้น ให้ไปต่อสู้กันในชั้นศาล

๒๐.๐๐ น.
กรมประชาสัมพันธ์ออกประกาศ ปล่อยผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญ ๑๓ คน ทางสถานีวิทยุทุกแห่งในรายการ ภาคข่าว โดยให้มีการประกันตัวไป แต่กรมประชาสัมพันธ์ไม่ได้บอกถึงข้อเรียกร้องและข้อต่อรองของศูนย์ฯ แต่อย่างใด ผู้ต้องหา ๑๓ คนได้รับทราบคำสั่งของทางการที่จะให้ประกันตัวแล้ว แต่ทุกคนไม่ยอมออกจากห้องขังเพราะไม่เคยรู้จักกับบุคคลที่รัฐบาลตั้งคนมาเป็นนายประกัน เพราะถือว่ายังมีเงื่อนไขอยู่ ที่ธรรมศาสตร์ คลื่นนิสิตนักศึกษาและประชาชนเริ่มเบียดเสียดยัดเหยียด อย่างแออัดบริเวณสนามฟุตบอล คับแคบถนัดใจ มีคนเป็นลมหลายราย

๒๒.๐๐ น.
ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยได้ออกกแถลงการณ์ด่วนกรณีที่รัฐบาลให้ประกันผู้ต้องหา ๑๓ คนว่า ทางศูนย์ฯ ไม่ยอมรับข้อเสนอนั้น ถือว่าเป็นการบ่ายเบี่ยงเจตนารมณ์เพื่อบิดเบือนเป้าหมาย ทางศูนย์ฯยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลปล่อยผู้ต้องหาทั้งหมดอย่างไม่มีเงื่อนไข นักศึกษาวิทยาลัยครูนครปฐม จำนวนประมาณ ๓,๐๐๐ คน เช่ารถบรรทุก ๑๐ คันมาลงที่สามแยกท่าพระ เพื่อเดินเท้ามุ่งสู่ธรรมศาสตร์แต่ถูกขัดขวางจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่ในที่สุดก็ยินยอมให้นักศึกษาเดินเข้าไปได้

วันเสาร์ที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๑๖๐๐.๑๕ น.
ผู้ต้องหาทั้ง ๑๓ คนออกแถลงการณ์ในคุก ไม่ยอมรับเงื่อนไขการประกันตัว และจะรอจนกว่าทางศูนย์ฯ จะแจ้ง ให้ทราบ

๐๓.๕๐ น.
ศูนย์นิสิตฯ ยืนยันจะไม่ประกันตัวผู้ต้องหา พ่อแม่ญาติพี่น้องของผู้ต้องหาก็ยืนยันเช่นนั้น และผู้ต้องหาจะไม่ ออกจากคุมขังเป็นอันขาด ถ้าทางศูนย์ไม่ไปรับตัว

๐๘.๐๐ น.
นักเรียนนิสิตนักศึกษาและประชาชนเข้าสมทบจนทำให้แน่นไปทั่วทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และล้น ออกไปนอกมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นจำนวนหลายหมื่นคน ที่กองบังคับการตำรวจสันติบาล นายไขแสง สุกใส หนึ่งในผู้ต้องหา เล่าให้หนังสือพิมพ์ฟังว่า หลังจากเข้า มอบตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เขาถูกแยกจากพรรคพวกไปควบคุมที่ศูนย์ซักถามของกองอำนวยการป้องกัน และปราบปรามคอมมิวนิสต์ ถนนเศรษฐศิริ ตลอดเวลาที่ถูกควบคุมนั้นไม่รู้เรื่องว่าเกิดอะไรขึ้นที่ข้างนอกเลย ครั้นเมื่อเวลา
๑๙.๐๐ น. วันศุกร์ที่ ๑๒ ก็ได้ทราบว่าจอมพลประภาสอนุญาตให้ประกันตัวแล้ว จึงถูกนำตัวไปเซ็นชื่อ รับทราบ เขาไม่ยอมเซ็น โดยอ้างว่าต้องขอพบผู้ต้องหาอีก ๑๒ คนก่อน
ทางด้านกองอำนวยการป้องกันและหน่วยปราบจลาจลที่สวนรื่นฯตั้งแต่เวลา ๐๕.๐๐ น. เส้นทางที่ผ่านด้านหน้า และด้านข้างกองบัญชาการสวนรื่นฯถูกปิดตาย ห้ามรถผ่านเข้าออกโดยเด็ดขาด หน่วยปราบจลาจลของทหารได้ขน เครื่องกีดขวางและสร้างรั้วลวดหนามปิดทางเข้ากองบัญชาการสวนรื่นทั้งสามด้านพร้อมด้วยกำลังหน่วยปราบจลาจล เต็มอัตรา มีรถฉีดน้ำเตรียมที่จะรับมือนักศึกษา ที่ทำเนียบรัฐบาล หน่วยปราบจราจลของเจ้าหน้าที่ตำรวจยกกำลังเข้าตรึงทำเนียบเอาไว้อย่างแน่นหนาตั้งแต่เช้า ประตูทำเนียบถูกล่ามโซ่ปิดตาย มีรถดับเพลิงและหัวฉีดแรงสูงเตรียมพร้อม

๐๙.๓๐ น.
ณ ชั้นบนตึกที่ทำการสภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ ประชุมเสร็จ จึงมีมติแบ่งหน้าที่ในการปฏิบัติงานของกรรมการศูนย์ ฯ และเจ้าหน้าที่ออกเป็นสามชุด
ชุดที่ ๑ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุลและผู้ร่วมทีมจำนวนหนึ่ง ไปเจรจากับรัฐบาลเป็นครั้งสุดท้าย
ชุดที่ ๒ เลขาธิการศูนย์ฯ และผู้ร่วมทีมไปขอเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระตำหนักจิตรลดาฯ
ชุดที่ ๓ นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุลและผู้ร่วมทีม ทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนไหวของขบวนนักเรียน นิสิตนักศึกษาโดยขบวนจะเคลื่อนออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

หลังจากเที่ยงตรงวันที่ ๑๓ ตุลาคม และให้กองบัญชาการการเคลื่อนที่ของขบวนเคลื่อนไปตั้งที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จนกว่าคณะกรรมการ บริหารศูนย์ฯ จะมีมติให้ดำเนินการในขั้นต่อไป

๑๐.๐๐ น.
เจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ ซึ่งเป็นนักเรียนนิสิตนักศึกษาจากสถาบันต่าง ๆ ได้ระดมกำลังตระเตรียมอุปกรณ์ ที่ใช้ในการเดินขบวนอันได้แก่ ธงชาติ ธงเสมาธรรมจักรหมวกกันแดด หมวกพลาสติกสำหรับป้องกันแก๊สน้ำตา พระบรมฉายาลักษณ์ของทั้งสองพระองค์ อุปกรณ์แสง-เสียง สายไฟฟ้า เครื่องปั่นไฟ เครื่องขยายเสียง เครื่องเวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่น ๆ ตลอดจนเสบียงอาหารและน้ำ ส่วนที่บริเวณหน้าตึกศิลปศาสตร์ก็ได้มี การนำรถบรรทุกเล็ก ประมาณ ๑๕ คัน เตรียมไว้ใช้ในการเดินขบวนและประสานงานที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บางคันที่มีความสำคัญมาก ได้มีการติดตั้งลำโพงกระจายเสียงบนหลังคารถ นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงประมาณ ๖,๐๐๐ คนเดินมุ่งสู่ธรรมศาสตร์ขณะผ่านอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มีนักศึกษาผู้หนึ่งนำธงดำไปปักที่อนุสาวรีย์ และนักศึกษาจำนวนนี้ได้ไปหยุดอภิปรายที่เชิงสะพานท่าช้าง

ในช่วงเวลาเดียวกัน นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล นายกสโมสรนิสิตจุฬาฯ และกรรมการศูนย์ อีกสองคน ได้เข้าพบจอมพล ประภาส จารุเสถียร ที่สวนรื่นฯ ท่ามกลางนายทหารและนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่เป็นจำนวนมาก หลังจากที่ทั้งสามคนได้บอกวัตถุประสงค์ของการมาพบครั้งนี้ว่า เพื่อขอทราบการตัดสินใจของรัฐบาลเกี่ยวกับ ข้อเสนอของศูนย์ฯที่ให้รัฐบาลปล่อยผู้ต้องหาทั้ง ๑๓ คนโดยไม่มีเงื่อนไข จอมพล ประภาสได้เสนอร่างสัญญา รัฐบาล จะปล่อยตัวผู้ต้องหา ๑๓ คน หากทางศูนย์ฯ สัญญาว่าจะหาทางให้ฝูงชนสลายตัวโดยเร็วที่สุด ผู้แทนทั้งสามได้ทักท้วงให้เติมคำว่า "โดยไม่มีเงื่อนไข" หลังคำว่า "ปล่อยตัว" จอมพลประภาสก็เติมข้อความให้ในสัญญา สำหรับเรื่องรัฐธรรมนูญจอมพลประภาสตอบว่าจะร่างให้เสร็จก่อนเดือนตุลาคม ๒๕๑๗ ผู้แทนศูนย์ฯ ทั้งสามเสร็จการเจรจากับจอมพลประภาสที่สวนรื่นฯ ในเวลา ๑๑.๕๕ น.

ในวันนี้ พล.ต.ท. ประจวบ สุนทรางกูร รองอธิบดีกรมตำรวจฝ่ายกิจการพิเศษ ได้สั่งตำรวจเตรียมพร้อมทั่ว กรุงเทพฯ ขณะเดียวกันผู้บังคับการกรมตำรวจสันติบาลกำลังอยู่ที่โรงเรียนพลตำรวจ บางเขน เพื่อจะนำตัวอาจารย์ และนักศึกษา ๑๒ คนที่ได้รับการประกันตัวมาปล่อยตัวกองบังคับกรมตำรวจสันติบาล ปทุมวันแต่ผู้ต้องหาทั้ง ๑๒ คนไม่ยอมรับการประกันตัวและไม่ยอมขึ้นรถ คงอยู่ที่หน้าตึกที่คุมขังในบริเวณศูนย์ฝึกฯ นั่นเอง เพราะเห็นว่าถ้าเข้ามาในเมือง เช่น มาที่ธรรมศาสตร์ อาจทำให้การเดินขบวนเรียกร้องรัฐธรรมนูญของนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน ที่กำลังจะเกิดขึ้นระส่ำระสายได้ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ใช้หน่วยคอมมานโดขับไล่ทั้ง ๑๒ คน ออกมาจากเรือนจำ บางเขน โดยอ้างว่าเป็นบุคคลที่ไม่พึงปรารถนาของสถานที่ราชการแล้ว ทั้ง ๑๒ คน ก็ได้มาจับกลุ่มกันอยู่ที่หน้าประตู ศูนย์ฝึกตำรวจนครบาลบางเขน และไม่ยอมเคลื่อนที่ไปไหน

๑๒.๐๐ น.
โฆษกศูนย์ฯ ประกาศว่าวันนี้จะเป็นวันแห่งชัยชนะของประชาชน ขอให้นิสิตนักศึกษาจัดแถวเดินขบวน อย่างเป็นระเบียบเพื่อจะได้เดินขบวนออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทางประตูด้านสะพานปิ่นเกล้าฯ

๑๒.๑๕ น.
กองบัญชาการศูนย์ฯ สั่งให้เคลื่อนขบวนออกจากธรรม ศาสตร์ หน่วยแรกที่ออกจากประตู มหาวิทยาลัย ด้านสะพาน พระปิ่นเกล้า คือ หน่วยเฟืองป่า ทำหน้าที่เป็นกองหน้า จากนั้นหน่วย ฟันเฟืองประสานมือกันเป็นแนวยาว สองข้างทางถึงสองชั้นเพื่อเปิด เส้นทางให้แก่ขบวนใหญ่ที่จะเคลื่อน ออกมา และหน่วยรักษา ความปลอดภัยต่าง ๆ ก็ได้ทำงานกันอย่างขะมักเขม้น

๑๔.๐๐ น.
หน่วยหน้าอันได้แก่ คอมมานโด หน่วยหมี และหน่วยเฟืองป่า หยุดอยู่แค่หน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาลผ่านฟ้าและประจันหน้าตำรวจกลุ่มหนึ่ง ส่วนหน้าของขบวนและตอนกลางของขบวนอันยาวเหยียด ได้เข้าสู่ถนนราชดำเนินกลางแล้ว แต่ส่วนท้ายของขบวนยังออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไม่หมด

๑๔.๔๕ น.
นายสมบัติ ธำรงธัญญวงศ์ เดินทางกลับมาแจ้งว่า ได้ติดต่อกับเลขาธิการสำนักงานพระราชวังแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นักศึกษาจัดตัวแทนเข้าเฝ้าได้

๑๕.๓๐ น.
ขบวนนักเรียนนิสิตนักศึกษาระลอกสุดท้ายออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จนหมดสิ้น แต่ยังคงมี การรักษาการณ์ให้ความคุ้มกันและรักษาความปลอดภัยบริเวณรอบตึกโดม เพราะเป็นที่ตั้งของฝ่ายการเงินของศูนย์ฯ ฝ่ายเสบียงอาหารและน้ำ พัสดุภัณฑ์และเวชภัณฑ์ ที่จะทำหน้าที่จนกว่าการชุมนุมจะเสร็จสิ้น ส่วนประตูทางเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ถูกปิดหมดที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โฆษกประจำศูนย์ฯ เริ่มอภิปรายท่ามกลางฝูงชนที่มาร่วมชุมนุมกันในบริเวณนั้น ประมาณ ๕ แสนคน ซึ่งถือได้ว่าเป็นกองทัพประชาชนที่รวมกำลังกันมากที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย

นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ผู้ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการศูนย์ฯ ในการควบคุมขบวน สังเกตเห็นฝูงชน รวนเร และหลายคนเริ่มคิดกลับบ้าน จึงได้ประกาศให้ทราบว่า "มาตรการขั้นเด็ดขาดมิใช่นั่งอยู่ในอนุสาวรีย์หลาย ๆ วันอย่างที่เคยทำมาแล้วในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่จะหยุดดูท่าทีของรัฐบาลเพียงสองชั่วโมงเท่านั้น ห้าโมงตรงถ้ายังไม่มีคำตอบใด ๆ จากรัฐบาล ขบวนของเราจะเคลื่อนต่อไป"

๑๖.๒๐ น.
นายสมบัติ ธำรงธัญญวงศ์ เลขาธิการศูนย์ฯ และกรรมการศูนย์ฯ เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อ กราบบังคมทูลถึงเป้าหมายในการต่อสู้ของนักเรียนนิสิตนักศึกษาและข้อเรียกร้องซึ่งรัฐบาลได้ยินยอมแล้ว

๑๗.๐๐ น.
ที่รถบัญชาการศูนย์ฯ นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล หัวหน้าปฏิบัติการเดินขบวนของศูนย์ฯได้ตัดสินใจ สั่งเคลื่อนขบวนไปยังลานพระบรมรูปทรงม้า โดยให้หน่วยเคลื่อนที่เร็วเคลื่อนไปก่อน ส่วนท้ายขบวนให้อยู่ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ เพราะยังไม่มีข่าวจากกรรมการศูนย์ฯ จะทำให้ขบวนระส่ำระสายขึ้นได้ การสั่งการครั้งนี้ เป็นการขัดกับข้อตกลงกับกรรมการศูนย์ฯ ที่ให้ควบคุมฝูงชนไว้บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จนกว่าพวกที่เข้าเฝ้าจะกลับไปหา
๑๗.๔๐ น.
กรรมการศูนย์ฯ เดินทางไปสวนรื่นฯ เพื่อลงนามในสัญญากับรัฐบาล จากนั้นนายสมบัติได้แยกไปรับผู้ต้องหา ๑๓ คน เพื่อนำมายืนยันฝูงชนว่า รัฐบาลปล่อยตัวโดยไม่มีเงื่อนไข

๒๐.๐๐ น.
สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยได้ออกแถลงการณ์ปล่อยตัวผู้ถูกจับกุมทั้ง ๑๓ คนโดยไม่มีเงื่อนไข ใด ๆ และจอมพลประภาส จารุเสถียร ได้ให้คำรับรองว่าจะร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายในเดือนตุลาคม ๒๕๑๗ ด้วย

๒๐.๓๐ น.
ที่รถบัญชาการศูนย์ฯ กรรมการศูนย์ฯ จำนวนหนึ่งรวมทั้ง นายก อมธ. ได้เสนอให้โฆษกบนรถบัญชาการศูนย์ฯ ไม่มีใครสนใจต่อคำเสนอนั้น นายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง นายกสโมสรนิสิตจุฬาฯ นายกสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ไปถึงรถบัญชาการศูนย์ฯ บอกให้ทราบว่าขณะนี้ได้รับพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสัญญาที่ทางศูนย์ฯ ทำกับรัฐบาลแล้วกรรมการศูนย์ฯ บนรถบัญชาการได้แจ้งให้ นายเสกสรรค์ทราบว่า รัฐบาล ยินดีจะปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้ง ๑๓ คน โดยไม่มีเงื่อนไขแล้ว และจะร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายในเดือนตุลาคม ๒๕๑๗

๒๑.๐๐ น.
หลังจากเดินทางไปรับตัวผู้ต้องหากลับมาแล้ว นายสมบัติ ธำรงธัญญวงศ์ เลขาธิการศูนย์ฯ ขึ้นไป บนรถศูนย์ฯ คันหนึ่งแจ้งให้ฝูงชนทราบว่า ขณะนั้นกรรมการศูนย์ฯได้เซ็นสัญญากับรัฐบาลเรียบร้อยแล้ว และกำลัง อัญเชิญพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาแจ้งให้ฝูงชนทราบ เมื่อฝูงชนทราบว่าทางรัฐบาลได้ปล่อย ผู้ต้องหาทั้ง ๑๓ คน โดยไม่มีเงื่อนไขแล้ว ฝูงชนก็แสดงความยินดี

แต่เมื่อ นายสมบัติประกาศว่า ทางรัฐบาลจะร่าง รัฐธรรมนูญให้เสร็จภายในเดือนตุลาคม ๒๕๑๗ ในครั้งแรกประชาชนยังแสดงความยินดีไชโยโห่ร้องด้วย แต่เมื่อ นายสมบัติประกาศย้ำครั้งที่ ๒ เรื่องรัฐธรรมนูญ ฝูงชนก็เริ่มลังเลแสดงความไม่พอใจ และมีการตะโกนออกมาว่า "ไม่เอา ไม่เอาต้องการรัฐธรรมนูญเร็วกว่านั้น" แต่ยังไม่ทันที่นายสมบัติจะพูดอะไรต่อไป ก็เป็นลมลงเสียก่อนเพราะไม่ได้พักผ่อน มาเป็นเวลานาน

๒๒.๐๐ น.
กรมประชาสัมพันธ์ได้ออกแถลงการณ์เตือนประชาชนฉบับหนึ่งความว่า ทางรัฐบาลยอมปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้ง ๑๓ คนอย่างไม่มีเงื่อนไขแล้ว อย่าให้มีการก่อกวนความสงบ ถ้ามีจะถือว่าผู้นั้น ไม่ไช่นักเรียนนิสิตนักศึกษา แต่เป็นฝ่ายตรงข้ามที่พยายามก่อกวน ในเวลาเดียวกัน นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ได้แถลงทางเครื่องกระจายเสียงว่า ขอให้กรรมการศูนย์ฯ คนใด คนหนึ่งรีบเดินทางมาพบเพื่อประมวลข่าวต่าง ๆ ชี้แจงให้เพื่อนนิสิตนักศึกษา นักเรียน และประชาชนทราบ เพราะ ขณะนี้สถานการณ์เริ่มเลวลง ฝ่ายปฏิบัติการไม่อาจจะควบคุมไว้ได้

วันอาทิตย์ที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖๐๐.๑๕ น.
เนื่องจากขาดการติดต่อกับทางศูนย์ฯ และไม่อาจทัดทานมติของชุมนุมได้ นายเสกสรร จึงตัดสินใจ เคลื่อนขบวนไปที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐานเพื่อขอพึ่งพระบารมีปกเกล้าฯ หลังจากจัดรูปขบวนแล้ว ต่างก็ร้องเพลง สรรเสริญพระบารมีเพื่อเป็นกำลังใจ

๐๑.๑๕ น.
ขบวนของฝูงชนได้เผชิญหน้ากับแถวปิดกั้นของ ตำรวจที่อยู่ในสภาพเตรียมพร้อม จึงไม่สามารถเคลื่อนขบวน ต่อไปได้

๐๒.๔๕ น.
นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล พบกับ นายธีรยุทธ บุญมี ที่รถควบคุมขบวนส่วนหน้า เมื่อทั้งสองพบกันก็รู้ว่า เกิดความเข้าใจผิดกัน นายธีรยุทธถาม นายเสกสรรค์ว่า ทำไมจึงไม่มีการสลายตัวในเมื่อได้ทำการตกลง กับทางรัฐบาล เรียบร้อยแล้ว นายเสกสรรค์ตอบว่า ในขณะที่อยู่บริเวณพระบรมรูปทรงม้านั้น ผู้คนกำลังอารมณ์ร้อนมาก ที่เคลื่อนขบวนมาที่พระตำหนักจิตรลดาฯ ก็เพราะหวังพระบารมีเป็นที่พึ่งเท่านั้น เมื่อเรื่องทั้งหมดสามารถคลี่คลายลงได้แล้ว คนทั้งหมดได้ช่วยกันประกาศผ่านไมโครโฟน เพื่อให้ฝูงชนนั่งอยู่ในส่วนหน้าของขบวนเกิดความเข้าใจและคลายความสงสัย แล้วนายธีรยุทธ ก็ประกาศว่า จะพานายเสกสรร ไปขอเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมกับตน ขณะนั้นเป็นเวลา ๐๓.๐๐ น.

๐๔.๓๐ น.
พ.ต.อ. วสิษฐ์ เดชกุญชร ได้อันเชิญพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาอ่าน ความว่า "คนที่เป็นผู้ใหญ่ ( คนเก่า ) นั้นเขามีประสบการณ์ ส่วนคนหนุ่มสาวมีพลังแรงทั้งร่างกายและทั้งความคิด ถ้าหากมาปรองดองสมัครสมานกัน ทำงานอย่างพร้อมเพียงไม่ผิดใจแคลงใจกัน การบ้านการเมืองก็จะดำเนินไปได้ด้วยดี นิสิตนักศึกษาก็เป็นผู้ที่ผ่านการทดสอบเลือกเฟ้นมาเป็นที่แน่นอนแล้วว่า มีทั้งสติและปัญญาพร้อมมูล จึงควรจะได้รู้ถึง ความคิดผิดชอบชั่วดีทุกอย่างเมื่อนิสิตนักศึกษาได้ดำเนินการมาตรงเป้าหมาย และได้รับผลตามสมควรแล้ว ก็ขอให้กลับคืนสู่สภาพปรกติเพื่อยังความสงบเรียบร้อยให้เกิดแก่ประชาชนทั่วไป" เมื่ออ่านพระบรมราโชวาทแล้ว พ.ต.อ. วิสิษฐ์ เดชกุญชร และนายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล รวมทั้งกรรรมการศูนย์ฯ อีกหลายคนได้พูดต่อขอให้ฝูงชนแยกย้ายกลับบ้าน แล้วก็ได้มีประกาศให้ทุกคนหันหน้าไปทางพระตำหนักจิตรลดาฯ แล้วร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีขณะนั้นเป็นเวลา ๐๖.๐๐ น. จากนั้นฝูงชนก็เริ่มสลายตัว

๐๖.๐๕ น.
เมื่อขบวนสลายตัวไปตามถนนพระราม ๕ มุ่งสู่สี่แยกดุสิต ได้ถูกสกัดกั้นโดยหน่วยคอมมานโด ของตำรวจนครบาลและกองปราบ แม้จะได้ขอร้องแล้ว แต่ตำรวจยังคงยืนกรานที่จะให้ประชาชนถอยกลับ ไปออกทางเดิม นักเรียนหลายกลุ่มไม่อาจเข้าใจได้ที่ต้องถูกบังคับให้เดินทางไกลมากขึ้นทั้งที่ง่วงนอนและอ่อนเพลียเต็มประดา ส่วนฝูงชนด้านหลังไม่รู้ว่าด้านหน้าถูกตำรวจปิดกั้นต่างพากันหนุนเนื่องเข้ามา ทำให้ด้านหน้าต้องประจันกับตำรวจ อย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง มีคนปาไม้และขวดไปยังตำรวจเพื่อหวังจะให้ตำรวจหลีกทาง แต่ พล.ต.ท.มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น ไม่ยอมสั่งให้ตำรวจปราบปรามจลาจลเปิดแนวปิดกั้น เพราะ พล.ต.ท. ประจวบ สุนทรางกูร รองอธิบดีกรมตำรวจฝ่าย กิจกรรมพิเศษ ได้ออกคำสั่งไม่อนุญาตให้เปิดแนวปิดกั้นให้ประชาชนผ่าน

๐๖.๒๐ น.
รถบัญชาการของศูนย์ฯ ได้เคลื่อนเข้ามาทางด้านหลังของฝูงชน ห่างจากแนวตำรวจประมาณ ๕๐ เมตร โฆษกบนรถพูดชักชวนให้ประชาชนส่วนใหญ่เดินกลับบ้านทางด้านวัดเบญจมบพิตร ตอนนี้เองได้เกิดการวุ่นวายกันขึ้น โดยฝูงชนได้ดันรถเก๋งสีดำคันหนึ่งเข้าไปหน้าแนวปิดกั้นของตำรวจ และมีเสียงบริภาษจากนักเรียนนักศึกษา และประชาชนเป็นอันมาก จากนั้นผู้เดินขบวนหลายคนเริ่มขว้างปาตำรวจด้วยไม้ ขวด ข้าวห่อ และก้อนอิฐเป็นการใหญ่ เพื่อหวังจะให้ตำรวจหลีกทางให้พวกตนเดินผ่านไปได้โดยสะดวก ฝูงชนจำนวนมากผนึกกำลังกันหนาแน่นขึ้น และพยามยามผลักดันคนซึ่งประจันหน้ากับแนวตำรวจด้านหน้า พร้อมทั้งขว้างปาท่อนไม้และอิฐไปยังกลุ่มตำรวจ

๐๖.๓๐ น.
รถตำรวจที่ใช้ปราบปรามจลาจลติดไซเรนสองคันวิ่งมาหลังแนวปิดกั้นของตำรวจ การขว้างปาได้รุนแรงขึ้น พล.ต.ท. มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น สั่งให้หน่วยคอมมานโดใช้กำลังเข้าต่อต้านพวกเดินขบวนได้ ถ้าหากเห็นว่าไม่สามารถจะยับยั้ง การผลักดันและการขว้างปาของประชาชนได้ ในที่สุดตำรวจหน่วยปราบปรามทั้งหมดได้ใช้ไม้กระบองและโล่เข้าตีและดันกลุ่มผู้เดินขบวนให้ถอยร่นไป โดยจัดแถวเป็นรูปหัวหอกพร้อมกับตีและดันไปข้างหน้าโดยไม่เลือกว่าจะเป็นชาย หญิง หรือเด็ก ในขณะเดียวกัน ตำรวจกองปราบในแนวหลังก็ได้รับคำสั่งให้ยิงแก๊สน้ำตาไปข้างหน้า ทำให้ฝูงชนส่วนใหญ่ต้องถูกดันถูกตี สำลักแก๊สน้ำตาจนตกน้ำ และวิ่งหนีเอาชีวิตรอดเป็นชุลมุน ฝูงชนแตกกระจายโดดลงคูน้ำทั้งสองข้างทาง หลายคนได้ล่วงล้ำเข้าไปในพระราชฐานเพราะความหวาดกลัว มีหลายคนถอยมาอยู่ที่หน้าประตูพระตำหนักจิตรลดาฯ เจ้าหน้าที่ทหารตำรวจที่รักษาวังได้ออกมาให้ความช่วยเหลือโดยนำคนเจ็บหลบเข้าไปในวัง ประชาชนที่ปีนข้ามรั้ว พระตำหนักจิตรลดาฯ เข้าไปแล้วได้ขวางปาก้อนอิฐข้ามรั้วไปยังกกลุ่มตำรวจทำให้ตำรวจยิงกระสุนระเบิดแก๊สน้ำตา ข้ามรั้วไปตกในเขตพระตำหนักจิตรลดาฯหลายลูก ด้วยความเจ็บแค้นที่ถูกไล่ตี ทำให้นักเรียนนักศึกษาและประชาชนหันหน้ามารวมกำลังกัน อย่างเหนียวแน่น และได้ต่อสู้กับตำรวจด้วยอาวุธเท่าที่พอจะหาได้ เช่น ก้อนหินไม้ เป็นต้น การปะทะใช้เวลาประมาณ ๑๕ นาทีคือเริ่ม ตั้งแต่เวลา ๐๖.๓๐-๐๖.๔๕ น. และกำลังของนักเรียนนิสิตนักศึกษาประชาชนได้ถอยร่นไปรวมกันที่ ลานพระบรมรูปทรงม้าเป็นส่วนมากส่วนหนึ่งได้ออกไปที่ ธรรมศาสตร์ได้รับรู้ว่า บัดนี้ได้ถูกหักหลังโดยตำรวจแล้ว และได้ออกประกาศไปทั่ว บอกข่าวอย่างรวดเร็ว ประชาชน ที่ได้รับฟังข่าวแทบไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้ ที่ตำรวจจะหักหลัง ตลบตีนักศึกษาประชาชนในตอนเช้า การกระทำของตำรวจครั้งนี้ได้สร้างความเดือดแค้น ให้แก่นักเรียนนักศึกษาและประชาชนอย่างยิ่ง นี่คือจุดเริ่มต้นของการนองเลือดและการจลาจล

๐๘.๔๐ น.
มีการประกาศให้ฝูงชนกลับไปรวมกันที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

๐๙.๐๐ - ๐๙.๓๐ น.
พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ตรวจการณ์ในบริเวณท้องสนามหลวง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถนนราชดำเนินกลาง และหน้ากรมประชาสัมพันธ์ และได้รายงานข่าวโดยตรงมาถึงจอมพลถนอม และจอมพลประภาสในทำนองว่า ใต้ตึกโดมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มีการซ่องสุมอาวุธและผู้คน โดยเป็นไปตาม แผนของคอมมิวนิสต์

๐๙.๓๐ น.
สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยได้กระจายแถลงการณ์ของจอมพลถนอมบิดเบือนความจริงว่า ประชาชนบุกรุกเขตพระราชฐาน และใส่ความว่าประชาชนทำร้ายตำรวจและประชาชนด้วยกันเอง กรมประชาสัมพันธ์แถลงว่า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปขอให้ใช้คำว่า "พวกก่อการจลาจล" ( พกจ. ) แทนคำ "นักเรียน นิสิตนักศึกษา และประชาชน"

๑๐.๓๐ น.
ฝ่ายรัฐบาลส่งทหารจาก ร. ๑๑ พร้อมด้วยรถถัง เข้าคุมสถานการณ์ ใช้ปืนกราดยิงนักศึกษาเสียชีวิตระนาว นักเรียนและประชาชนสู้อย่างทรหด ขับรถเมล์เข้าชนรถถัง แต่ก็ถูกยิงเสียชีวิต ผู้บาดเจ็บถูกหามส่งโรงพยาบาลศิริราช ตลอดเวลา รัฐบาลได้ออกแถลงการณ์เป็นระยะ ๆ ในขณะเดียวกันเกิดข่าวลือแพร่สะพัดว่านักศึกษาหญิงที่ถือธงไตรรงค์ในวันเดินขบวนถูกตำรวจตีตาย เด็กผู้ชาย ถูกถีบเตะตกคูน้ำจนตาย สร้างความโกรธแค้นให้แก่ผู้ร่วมชุมนุม เป็นอย่างยิ่ง สถานการณ์รุนแรงหนักขึ้น รัฐบาลส่งทหารและตำรวจออกปราบ ทั้งรถถังและ เฮลิคอปเตอร์ จุดปะทะและนองเลือดมีตลอดสาย ถนนราชดำเนิน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บางลำพู เป็นเวลาถึง ๑๐ ชั่วโมง พร้อม ๆ กับมีคำสั่งห้ามประชาชน ออกนอกบ้าน ระหว่าง ๒๒.๐๐ -๐๕.๓๐ น.ประกาศปิดโรงเรียนและสถาบันการศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และ สมุทรปราการ และกำหนดให้บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นเขตอันตราย เตรียมพร้อมที่จะทำการกวาดล้างใหญ่ ขอให้ทุกคนออกจากบริเวณดังกล่าวภายในเวลา ๑๘.๐๐ น.

๑๘.๐๐ น.
สถานีวิทยุกระจายเสียงของกรมประชาสัมพันธ์ได้ประกาศข่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรีได้ประกาศลาออกแล้ว

๑๘.๓๐ น.
ฝ่ายประชาชนได้ถอยมาชุมนุมกันที่บริเวณรอบ ๆ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยประมาณ ๓ หมื่นคน ขณะนั้น ได้มีเครื่องบินฝึกบินชั้นเดียวลำหนึ่งมาวนเวียนอยู่รอบ ๆ พร้อมทั้งประกาศให้ประชาชนทราบถึงการลาออกของรัฐบาล จอมพลถนอม ขอให้นักเรียนนักศึกษาหยุดการกระทำใด ๆ แล้วทหารตำรวจก็จะหยุดปฏิบัติการเช่นเดียวกัน แต่การประกาศ ดังกล่าวไม่ได้สร้างความเชื่อถือให้แก่ประชาชนที่มาชุมนุมเท่าใดนัก ส่วนใหญ่คิดว่าเป็นกลลวง เพราะจอมพลถนอม ยังมีตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดอยู่

๑๙.๔๐ น.
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงออกรายการทางโทรทัศน์ พระราชทานกระแสพระราชดำรัส แก่ประชาชนชาวไทยว่า วันที่ ๑๔ ตุลาคม เป็นวันมหาวิปโยค ทรงเปิดเผยว่ารัฐบาลจอมพลถนอม ได้ลาออกแล้ว และทรงแต่งตั้งให้นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ เพื่อจัดตั้งรัฐบาลแทน

๒๓.๐๐ น.
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระราชดำรัสทางโทรทัศน์แสดงความห่วงใย ตลอดคืนนี้มีการต่อสู้ ระหว่างนักเรียนประชาชนกับตำรวจที่กองบัญชาการตำรวจนครบาลผ่านฟ้า ฝ่ายนักเรียนและประชาชนปักหลักสู้ จากตึก บริษัทเดินอากาศไทยและป้อมมหากาฬที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ประชาชน ๕ หมื่นคนนั่งเรียงรายบนถนนราชดำเนินกลางอย่างสงบ ผู้นำศูนย์กลาง นิสิตนักศึกษาฯ ขาดการติดต่อ ซ้ำมีข่าวลือว่าบางคนเสียชีวิตแล้ว เช่น นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล และนางสาวเสาวนีย์ ลิมมานนท์ จึงมีการจัดตั้ง "คณะกรรมการศูนย์ปวงชนชาวไทย" ขึ้นชั่วคราวเพื่อประสานงานและคลี่คลาย สถานการณ์เพื่อประสานงานและคลี่คลายสถานการณ์ คณะกรรมการศูนย์ฯมีประมาณ ๑๐ คน ประกอบด้วยนิสิตจุฬาฯ นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง นักศึกษาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต นักเรียนพาณิชย์การ แห่งละหนึ่งคน อดีตประธาน ศูนย์กลางนักเรียนแห่งประเทศไทย และทีเหลือเป็นประชาชน แต่ละคนไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลย

คืนนั้นเสียงปืนยังดังประปราย ท้องฟ้าแถบถนนราชดำเนินเป็นสีแดง มีควันไฟพวยพุ่งอยู่เป็นหย่อม ๆ การต่อสู้ เพื่อสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยดำเนินไปตลอดคืน

วันจันทร์ที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๑๖
๐๐.๐๕ น.
ศูนย์ปวงชนชาวไทยที่ชุมนุม ณ บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยพยายามวิงวอนให้ทางตำรวจ ส่งผู้แทน มาเจรจาเพื่อหยุดยิง นางสาวจิระนันท์ พิตรปรีชา จากจุฬาฯ ประกาศให้ผู้ชุมนุมทราบว่ากำลังติดต่อกับฝ่ายตำรวจอยู่ และพูดขอร้องให้ผุ้ชุมนุมอยู่ในความสงบเพื่อไม่ให้เกิดความระส่ำระสาย ส่วนกลุ่มผู้ก่อการจลาจล ก็ขยายวงกว้างออกไปทั่วกรุงเทพฯ มีการทำลายทรัพย์สินของมาราชการ เช่น เผาป้อมตำรวจทุกแห่ง ทำลาย ป้อมไฟสัญญาณจราจร ถังขยะเทศบาล เป็นต้น ตามถนนทุกสายไม่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจรักษาการณ์อยู่เลย เป็นภาวะบ้านเมืองที่อยู่ในช่วงการจลาจลอย่างแท้จริง ทุกคนต้องรับผิดชอบในสวัสดิภาพของตนเอง เนื่องจากหน่วยกล้าตายของกลุ่มก่อจลาจลจะบุกเข้าทำร้ายตำรวจทุกคนที่พบเห็น

๐๖.๐๐ น.
เหตุการณ์ยังตึงเครียดอยู่การจลาจลนองเลือดยังไม่มีทีท่าว่าสงบลงแต่กลับมีเค้าว่าจะเพิ่มความรุนแรง ยิ่งขึ้น เพราะทหารส่งกำลังเข้ามาเสริมตามจุดต่าง ๆ ที่มีการจลาจล ส่วนทางเจ้าหน้าที่ตำรวจทั่วกรุงเทพฯ ได้หายไปหมด หลายโรงพักปล่อยให้เป็นโรงพักร้าง ยังคงมีจุดเดียวที่สะพานผ่านฟ้าฯ เท่านั้นที่หน่วยกล้าตาย ยังคงเสี่ยงชีวิตจะบุกเข้ายึดทำลายกองบัญชาการตำรวจนครบาลให้ได้ด้วยพลังแค้นที่เพื่อน ๆ ต้องเสียชีวิตจากกระสุนปืนของตำรวจผ่านฟ้ามากที่สุด รัฐบาลได้ประกาศได้ประกาศผ่านทางวิทยุให้หยุดราชการเป็นเวลาสามวัน และโรงเรียนทุกแห่งได้ประกาศปิด โดยไม่มีกำหนดจนกว่าเหตุการณ์จะคลี่คลายลง บริษัทห้างร้านต่าง ๆ ก็ได้ประกาศหยุดเช่นเดียวกัน ส่วนบรรดาผู้ที่ จำเป็นต้องไปธุระหรือออกนอกบ้านต่างประสบกับปัญหาเรื่องพาหนะ เพราะรถเมล์ที่ออกวิ่งถูกพวกก่อการยึดไปหลายคัน ในที่สุดก็ไม่มีรถเมล์กล้าออกมาวิ่ง รวมทั้งรถบรรทุกของเอกชนด้วย ถนนหนทางว่างเปล่า ประชาชนจำนวนมาก ออกเดินไปตามบาทวิถี

๑๑.๒๐ น.
สถานีวิทยุของกรมประชาสัมพันธ์ได้กระจายเสียงประกาศของกองบัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งใส่ร้าย ประชาชนว่าเป็นพวกก่อการจลาจลยึดป้อมมหากาฬเป็นฐานยิงปืนของเครื่องยิงระเบิด M 79 ทำลายกองบัญชาการตำรวจนครบาลผ่านฟ้า และยังได้ใส่ร้ายประชาชนที่ก่อการจลาจลอีกว่าเป็นผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์

๑๒.๐๐ น.
ประชาชนหลายหมื่นคนได้เดินทางมาชุมนุมกันบริเวณถนนราชดำเนินกลางอย่างแน่นขนัดเพื่อมา ดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย คณะกรรมการศูนย์ปวงชนชาวไทยได้หยุดกระจายเสียงเป็นระยะ ๆ เพื่อให้ประชาชน ที่ชุมนุมกันอยู่รอบ ๆบริเวณนั้นสลายตัวแต่ไม่ได้ผล ประชาชนยังคงมาชุมนุมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

๑๓.๓๐ น.
ตึกกองบัญชาการตำรวจนครบาลผ่านฟ้า และอาคารสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้งถูกไฟไหม้อย่างหนัก ในขณะเดียวกัน นักเรียนนักศึกษาและประชาชนกลุ่มหนึ่งสามารถดับไฟที่กำลังไหม้สถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้งไว้ได้ โดยใช้รถดับเพลิงของสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ลุกลามไปยังบ้านเรือนของ ประชาชนที่อยู่ใกล้กับ สถานีตำรวจ

๑๔.๑๐ น.
สถานีวิทยุกระจายเสียงของกรมประชาสัมพันธ์ทุกแห่งได้กระจายเสียงประกาศของกองบัญชาทหารสูงสุด ห้ามประชาชนออกนอกเคหสถานในเวลากลางคืนตั้งแต่เวลา ๒๒.๐๐ -๐๕.๓๐ น. ของวันรุ่งขึ้นมิฉะนั้นกองบัญชาการทหารสูงสุดก็จะใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดในการปราบปรามจลาจล

๑๗.๓๐ น.
นับแต่เวลานี้เป็นต้นไปนักเรียนนักศึกษาประชาชนที่ชุมนุมกันอยู่ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยได้เริ่มทยอยกัน กลับโดยรถโดยสารประจำทางที่วิ่งออกมารับประชาชนกลับบ้าน ซึ่งไม่คิดค่าโดยสาร แต่นักเรียนนักศึกษาประชาชน บางส่วนยังคงชุมนุมกันอยู่ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยต่อไป

๑๘.๔๐ น.
สถานีวิทยุกระจายเสียงของกรมประชาสัมพันธ์ได้ประกาศข่าว การหนีออกนอกประเทศของจอมพล ถนอม กิตติขจร จอมพล ประภาส จารุเสถียร และ พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร เมื่อข่าวนี้แพร่สะพัดออกไปประชาชน ในย่านชุมชนต่าง ๆ ต่างก็ไชโยโห่ร้อง "มันหนีเราแล้ว เราชนะแล้ว" และปรบมือด้วยความยินดี เริ่มทยอยกันกลับบ้าน คำประกาศนี้ สามารถยุติสภาวการณ์จลาจลได้อย่างฉับพลัน

๑๙.๐๐ น.
สถานีวิทยุของกรมประชาสัมพันธ์ได้ประกาศขอร้องไม่ให้ประชาชนออกจากบ้านหลัง
๒๐.๐๐ น.

๒๐.๓๐ น. สถานีวิทยุกระจายเสียงของกรมประชาสัมพันธ์ทุกแห่งประกาศยกเลิกคำประกาศห้ามประชาชนออกนอก บ้านหลัง ๒๐.๐๐ น. ตามที่ได้ประกาศเมื่อเวลา ๑๙.๐๐ น. เมื่อความสงบได้กลับคืนมาสู่ประเทศไทย

๒๑.๔๗ น.
จอมพล ประภาส จารุเสถียร พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร และครอบครัวรวมทั้งผู้ติดตามรวมทั้งสิ้น ๓๐ คน อันประกอบด้วยบุคคลที่มาจากครอบครัวของจอมพลประภาสจำนวน ๒๕ คน และลูกน้องที่ให้ความคุ้มครอง อีกจำนวนหนึ่ง ได้เดินทางลี้การเมืองออกนอกประเทศโดยเครื่องบินของบริษัทการบินไทย จำกัด เดินทางมุ่งหน้าไป กรุงไทเปกระเป๋าเดินทางของผู้ลี้ภัยทั้งหมดมีจำนวน ๕๖ ใบมีน้ำหนัก ๑,๓๓๖ กิโลกรัม

วันอังคารที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๑๖กรุงเทพฯ เริ่มกลับสู่ภาวะปกติ ตามถนนแม้ยังไม่มีเจ้าหน้าที่ ตามถนนแม้ยังไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ออกปฏิบัติการ แต่ก้มีลูกเสือและนักศึกษาออกทำหน้าที่อำนวยความสะดวกด้านจราจรแทนเป็นอย่างดี รถเมล์ทุกสาย เริ่มวิ่งตามปกติในตอนเช้าผู้คนจำนวนนับแสนต่างพากันเดินไปตามถนนราชดำเนินเพื่อสำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้น ทำให้การจราจร ในบริเวณนั้นติดขัดมาก ตอนสายที่ถนนราชดำเนินกลาง นักเรียน นิสิตนักศึกษาพากันมาช่วยเก็บกวาดสิ่งหักพัง ตลอดจนทำ ความสะอาดเพื่อให้บ้านเมืองกลับเข้าสู่สภาพปรกติ ตามจุดต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ มีหน่วยอาสาสมัครแพทย์และพยาบาล เปิดศูนย์บริจาคโลหิตชั่วคราวขึ้นเพื่อรับบริจาคโลหิตช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ นอกจากนี้ประชาชนได้ร่วมบริจาคเงิน และสิ่งของมายังศูนย์ ฯ อย่างคับคั่งเพื่อจะได้นำไปช่วยเหลือผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บต่อไปพร้อมกับจะได้ร่วม เป็นทุนในการก่อสร้างอนุสาวรีย์แก่วีรชนผู้เสียชีวิตในครั้งนี้ด้วย

ทางต่างจังหวัด นักเรียนนิสิตนักศึกษาประชาชนตามจังหวัดต่าง ๆ ได้ร่วมบริจาคทรัพย์สิ่งของส่งมาสมทบ กับศูนย์ฯ ตลอดเวลา พร้อมกับโทรเลขและส่งสารแสดงความไว้อาลัยแก่ผู้เสียชีวิต คณะนักเรียนไทยในต่างประเทศ ก็ได้ส่งเงินบริจาคมาช่วยเหลือในครั้งนี้ด้วย

๒๑.๐๐-๒๑.๔๐ น.
จอมพล ถนอม กิตติขจร พร้อมครอบครัวได้เดินทางไปท่าอากาศยานดอนเมือง กรุงเทพฯ เพื่อเดินทางลี้ภัยการเมืองไปอยู่เมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตต์ สหรัฐอเมริกา

ข่าวการปฏิบัติการของนักเรียน นิสิตนักศึกษา ประชาชนชาวไทยในครั้งนี้ ได้แพร่สะพัดไปทั่วทุกมุมโลก แสดงให้เห็นพลังของประชาชนคนไทยที่ต่อสู้ด้วยมือเปล่าจนสามารถขจัดผู้เผด็จการได้

ผลการเปลี่ยนแปลงหลังเหตุการณ์ ช่วงสองเดือนหลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ๑๖ นั้น กรรมกรนัดหยุดงานเพิ่มมากขึ้นกว่า ๓๐๐ ครั้ง และในปีถัดมา หยุดงานกระแสการนัดหยุดงานก็พุ่งสูงขึ้นมากกว่า ๗๐๐ ครั้ง ถึงขนาดสามารถกล่าวได้ว่า ขบวนการกรรมกรร้อยละ ๘๐ เคยนัดหยุดงานในช่วงเวลาดังกล่าวมาแล้วทั้งนั้นปัญหาการนัดหยุดงานของกรรมกรเกิดจากสภาพความบีบคั้นแร้นแค้น ที่สะสมมานานจนเกิดแรงระเบิดขึ้นในระยะดังกล่าว ผู้ใช้แรงงานเรียกร้องขอเพิ่มค่าจ้างและสวัสดิการ รวมทั้งหลักประกัน ในการทำงาน จนกระทั่งปี ๒๕๑๗ กรรมกรก็ชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ที่ท้องสนามหลวง สามารถเรียกร้องให้รัฐบาล นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ออกประกาศกำหนดค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศได้สำเร็จ และนำไปสู่การออกกฎหมายคุ้มครอง แรงงานในวิสาหกิจต่าง ๆ แล้วเติบโตขยายตัวก่อตั้งองค์กรกลางสหภาพแรงงานและองค์การสภาลูกจ้างแรงงานในที่สุดส่วนการเคลื่อนไหวของชาวนาชาวไร่ในชนบทนั้น

หลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ๑๖ ชาวนาชาวไร่ผู้ประสบ ความเดือดร้อน มาช้านานได้รวมตัวกันเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาชาวนา ตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ จนถึงเดือนพฤษภาคม ชาวนาจำนวนมาก ได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือเรื่องหนี้สิน และปัญหาการครอบครองที่ดิน ปลายเดือนมิถุนายน ๒๕๑๗ ชาวนาได้จัดชุมนุมใหญ่เป้นครั้งแรกที่ท้องสนามหลวง และชุมนุม กันอีกครั้งในเดือน พฤศจิกายนปีเดียวกัน ในที่สุดก็มีการก่อตั้ง องค์กรของชาวนาขึ้นอย่างเป็นทางการในชื่อ "สหพันธ์ชาวนาชาวไร่"การเคลื่อนไหวต่อต้านความไม่เป็นธรรมในสังคมของกลุ่มผู้ทุกข์ยาก

ในช่วงหลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ๑๖ ได้พัฒนาพร้อมไปกับอุดมการณ์สังคมนิยมที่แพร่หลายอยู่ในเวลานานนั้น โดยเฉพาะแนวคิดสังคมนิยม แบบจีนนั้น ได้รัยการเผยแพร่อย่างมาก เสกสรร ประเสริฐกุล อดีตผู้นำนักศึกษาสมัย ๑๔ ตุลา ๑๖ กล่าวยอมรับว่า สังคมไทย เริ่มแยกออกเป็นสองขั้วตั้งแต่ประมาณกลางปี ๒๕๑๗ เป็นต้นมา

ขั้วหนึ่งคือกลุ่มปฏิรูป ซึ่งประกอบด้วยนักศึกษา ครูอาจารย์ นักหนังสือพิมพ์ กรรมกร และชาวนา กลุ่มขั้วนี้ต้องการความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในสถาบันทางการเมือง รูปแบบวิธีการเก็บภาษี เรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน นโยบายต่างประเทศ และสัมพันธ์ภาพของข้าราชการกับชาวบ้าน

อีกขั้วหนึ่ง คือกลุ่มอนุรักษ์นิยม ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มอำนาจเก่าอย่างทหาร ชนชั้นสูงบางกลุ่ม ชนชั้นกลางบางพวก ชาวบ้าน บางส่วน และนักเรียนอาชีวะส่วนหึ่ง กลุ่มขั้วนี้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงที่อีกฝ่ายหนึ่งต้องการ เป็นสิ่งที่สังคมไทย รับไม่ได้



การที่สังคมไทยเริ่มแบ่งเป็นสองขั้วสองฝ่ายนั้น มีสาเหตุมาจากปัญหาของประเทศที่หาทางออกไม่ได้ ฝ่ายขบวนการ นักศึกษาจึงเริ่มหันมาพิจารณาว่า อุดมการณ์สังคมนิยมอาจเป็นทางออกของสังคมไทย ในระยะนั้นแนวความคิด ที่เรียกร้องให้นักศึกษาประสานกับกรรมกรชาวนาเพื่อ "รับใช้ประชาชน" เป็นที่ยอมรับกัน โดยทั่วไป นอกจากนี้ ในเรื่องของศิลปะ ดนตรี วรรณกรรมและละคร ต่างก็ปวารณาตัวเข้า "รับใช้ประชาชน" ด้วยกันทั้งสิ้น ในวงการหนังสือ มีการพิมพ์หนังสือต้องห้าม เช่น โฉมหน้าศักดินาไทย แต่งโดยจิตร ภูมิศักดิ์ กงจักรปีศาจ รวมถึงผลงานของฝ่าย สังคมนิยม เช่น สรรนิพนธ์เหมาเจ๋อตง การปฏิวัติเลนิน ฯลฯ ออกเผยแพร่อย่างคึกคัก ทั้งที่ครั้งหนึ่งรัฐบาลเผด็จการเคยสั่งห้ามพิมพ์เผยแพร่ ท่ามกลางสภาพที่ก่อให้เกิดความสั่นคลอนและหวาดเกรงจะสูญเสียผลประโยชน์ในหมู่ผู้มีอำนาจและกลุ่ม ผลประโยชน์ต่าง ๆ แทนที่คนกลุ่มนี้จะหันมาแก้ปัญหาสังคม เศรษฐกิจ และ การเมือง ให้เกิดความเป็นธรรม ต่อคนหมู่มาก หรือหันมาร่วมมือสร้างประเทศไทยให้มีเอกราชและเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ตรงกันข้ามคนกลุ่ม ดังกล่าวซึ่งเป็นพวกอนุรักษ์นิยมกลับเพ่งเล็งว่า การเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษาประชาชนได้สร้าง ความวุ่นวายให้สังคม และมองการเคลื่อนไหวต่อต้านความไม่เป็นธรรมว่า เป็นการกระทำของคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีวิธี จัดการเพียงวิธีเดียว คือ ต้องใช้ความรุนแรงเข้าทำลาย

ตั้งแต่ช่วงกลางปี ๒๕๑๗ เป็นต้นมา กลุ่มอำนาจเก่าที่เสียขวัญคราวเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ๑๖ ก็ฟื้นตัวเริ่ม เคลื่อนไหวต่อต้านพลังของนักศึกษาประชาชน โดยแยกสลายพลังนักเรียนอาชีวะออกจากขบวนการนักศึกษา แล้วจัดตั้งกลุ่มกระทิงแดงเพื่อคอยก่อกวนขบวนการนักศึกษา ในปี ๒๕๑๘ เกิดชมรมวิทยุเสรี ชมรมแม่บ้าน ฯลฯ ตั้งแต่ปี ๒๕๑๘ เป็นต้นมา นักศึกษาและขบวนการประชาชนเริ่มถูกฝ่ายตรงข้ามใช้ความรุนแรงตอบโต้ เช่น ผู้นำชาวนาที่ทำงาน ในสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ ๓๐ คนถูกสังหาร เมื่อล่วงเข้าปี ๒๕๑๙ การสังการทางการเมืองยิ่งเกิดขึ้นอย่างเปิดเผย ตั้งแต่การสังหารอมเรศ ไชยสะอาดฝ่ายการเงินของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ตลอดจน การขว้างระเบิด ใส่นักศึกษาประเทศประชาชนที่เดินขบวนต่อต้านฐานทัพอเมริกันเมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๑๙ เป็นต้น เหตุฆาตกรรม แต่ละครั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถจับตัวคนร้ายมาลงโทษได้

ส่วนความเคลื่อนไหวด้านการเมืองนั้นหลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้นายสัญญา ธรรมศักดิ์เป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว รัฐบาลนายสัญญาได้ออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม แก่นักเรียนนิสิตนักศึกษาและประชาชนที่เดินขบวนในเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ๑๖ และประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในปลายปี ๒๕๑๗ พร้อมทั้งกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๑๘ ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคประชาธิปัตย์โดยการนำของ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ได้มีที่นั่งในสภาฯเพียง ๑๘ ที่นั่งเท่านั้นประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ 2517 เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบเพราะเป็นประชาธิปไตยที่ได้มา โดยเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 นับได้ว่าเป็นประชาธิปไตยที่ได้มาจากการต่อสู้ของมวลชน สิ่งที่ปรากฏในระหว่างนี้ มองได้สองทางคือ

ในทางบวก1.โอกาสของการพัฒนาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย การเลือกตั้ง การจัดตั้งรัฐบาล การแก้ไขข้อขัดแย้งต่างๆ แสดงเด่นชัดว่า คนไทยรู้กติกาและสามารถปกครองตนเองในระบบอบ ประชาธิปไตย ได้อย่างน้อยก็ชี้ให้เห็นว่ามีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองและระบบ
2.ความตื่นตัวทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือง การเรียกร้องและประท้วงต่างๆ ความสนใจ ของคนที่มาฟังคำอภิปราย รวมทั้งสิ่งตีพิมพ์ที่เป็นวรรณกรรมทางการเมือง ชี้ให้เห็นลักษณะพลวัตของ การเมืองไทย ความตื่นตัวและความกระตือรือร้น การเรียกร้องสิทธิและการตระหนักถึง สัมฤทธิ์ผล ทางการเมือง
3.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเมือง การพยายามจับกลุ่มและเข้าร่วม องค์กรทางสังคม และการเมือง
4.ความเสมอภาคทางการเมือง การผูกขาดอำนาจทางการเมืองลดลง ทำให้คนจำนวนไม้น้อยมี ความรู้สึกว่าตนมีเสรีภาพและความเสมอภาคเท่าคนอื่น5.การตอบสนองของระบบราชการต่อความต้องการของประชาชนดีขึ้น ระบอบประชาธิปไตย ที่เกิดขึ้นทำให้เจ้าหน้าที่ราชการ กระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ตอบสนองความต้องการของประชาชนมากขึ้น การวางอำนาจบาตรใหญ่ลดน้อยลงและความรู้สึกเรื่องประชาธิปไตยเริ่มเกิดขึ้นในหมู่ราชการ

ในทางลบ1.การเรียกร้องทางการเมืองเกินขอบเขต เกิดการเรียกรอง การประท้วง การนัดหยุดงาน ซึ่งเกิดขึ้น อย่างมากมาย (ปี 2516 จำนวน 501 ครั้ง, ปี 2517 จำนวน 357 ครั้ง, ปี 2518 จำนวน 241 ครั้ง, ปี 2519 จำนวน 133 ครั้ง) การเข้ามาร้องทุกข์ของชาวนา ฯลฯ ซึ่งมีหลายกรณีมาจากความจริง และหลายกรณี มาจากการฉวยโอกาสไม่สมเหตุสมผล แต่ที่สำคัญคือ การเรียกร้องอันมากมายนี้ชี้ให้เห็นว่า การตื่นตัว ทางการเมือง กำลังถึงจุดสูงสุดซึ่งจะเกินเลยความสามารถและทรัพยากรของระบบการเมือง ซึ่งน่าเป็นห่วงยิ่ง
2.ปฏิกิริยาตอบโต้จากกลุ่มอนุรักษ์นิยม การเกิดกลุ่มต่างๆที่ได้มีการเรียกร้องทางการเมืองได้นำไปสู่การเกิดกลุ่มต่อต้านหรือกลุ่มค้านขึ้นมาซึ่งมีกิจกรรม การแสดงออกในทางความรุนแรง เป็นการคุกคามต่อการรวมกลุ่มทางการเมือง เช่น กลุ่มกระทิงแดง เป็นต้น
3.การใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา การแสดงออกทางการเมืองเริ่มส่อให้เห็นความรุนแรงมากขึ้น จนเกิดความรู้สึกว่าบ้านเมืองไม่มีขื่อไม่มีแป ความรุนแรงที่เห็นได้ชัด คือ การที่ตำรวจกลุ่มหนึ่งยกพวกไป ทำลายบ้านนายกรัฐมนตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช การยกพวกเข้าเผามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การพยายามขว้างระเบิดพรรคพลังใหม่ การขว้างระเบิดใส่การชุมนุมหาเสียงของ พรรพลังใหม่ที่จังหวัด ชัยนาท การขว้างระเบิดใส่ผู้การชุมนุมของชาวมุสลิมภาคใต้ การขว้างระเบิดใส่ผู้เดินขบวน ประท้วง การตั้งฐานทัพอเมริกาและสถานีเรด้ารามสูรณ์ การสังหาร ดร.บุญสนอง บุณโยทยาณ อดีตเลขาธิการ พรรคพลังสังคมนิยมแห่งประเทศไทย ฯลฯ ล้วนแต่ส่อให้เห็นความวุ่นวายและปั่นป่วนทางการเมือง ซึ่งมีแนวโน้มว่าถ้าปล่อยให้เป็นไปอย่างนี้ กลียุคทางการเมืองกำลังจะตามมา
4.ความคิดทางการเมืองแตกแยกสุดโต่งเป็นสองขั้ว ปรากฏการณ์ที่น่าวิตกที่สุดคือการแตกแยกในทางความคิดทางการเมืองของคนไทยที่แตกแยกเป็นสองขั้ว อย่างสุดโต่งในลักษณะประจันหน้า การแตกแยกดังกล่าวคือการแตกออกเป็นกลุ่มซ้ายจัดและขวาจัด ซึ่งมีความต่างกันในแง่อุดมการณ์โดยฝ่ายขวาจัดมองดูฝ่ายซ้ายจัดหรือหัวก้าวหน้าว่าเป็นกลุ่มที่เป็นภัย ต่อสังคมไทย เป้ฯคอมมิวนิสต์ที่มุ่งทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ส่วนกลุ่มซ้ายจัด ก็มองกลุ่มขวาจัด ว่าเป็นพวกไดโนเสาเต่าล้านปี พวกปฏิกิริยาที่พยายามจะหยุดกงล้อของประวัติศาสตร์ อีกทั้ง ทั้งสอง กลุ่มยัง ตีความประชาธิปไตย แตกต่างกันอีกด้วย ฝ่ายขวาจัด ตีความว่าประชาธิปไตยคือรูปแบบการเมือง การปกครองของอังกฤษหรือยุโรปตะวันตก หรือสหรัฐอเมริกา ส่วนฝ่ายหัวก้าวหน้าตีความว่า ประชาธิปไตย ที่แท้จริงคือประชาธิปไตยมวลชนแบบสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นต้น

ชื่อเรียก
๑. วันมหาวิปโยค
๒. วันมหาปิติ
๓. การปฏิวัติ ๑๔ ตุลาคม
๔. การปฏิวัติของนักศึกษา

เวลาที่เกิดเหตุการณ์วันที่ ๑๔-๑๖ ตุลาคม ๒๕๑๖ชนวนของเหตุการณ์เรียกร้องให้ปล่อยตัว ๑๓ ผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญที่ถูกจับกุมตัวในข้อหากบฏเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๖เหตุการณ์เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคมเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องจากการประท้วงคำสั่งลบชื่อนักศึกษารามคำแหงเก้าคน การประท้วงนี้ยังเสนอให้รัฐบาล ประกาศใช้รัฐธรรมนูญภายในเวลาหกเดือนก่อนหน้านี้ ประเทศไทยมีการปกครองภายใต้รัฐบาลทหารโดยไม่มีรัฐธรรมนูญ ในสมัยของรัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจรก็มีเหตุการณ์ที่ค่อย ๆ สั่งสมให้ประชาชนเกิดความไม่พอใจรัฐบาล เช่น เมื่อนักการเมืองระดับสูงใช้ยุทโธปกรณ์ล่าสัตว์ที่ทุ่งใหญ่นเรศวร เมื่อเดือนเมษายน ๒๕๑๖ และภาวะข้าวสาร ขาดแคลน ขณะที่บทบาททางการเมืองของนักศึกษาชัดเจนและเข้มแข็งขึ้น หลังจากที่ ประสบความสำเร็จ มาแล้วจาก การเป็นผู้นำสัปดาห์ต่อต้านสินค้าญี่ปุ่นเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๑๕ในวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๑๖ นักศึกษาจัดให้มีการประท้วงในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อเรียกร้องให้ รัฐบาลปล่อยตัวผู้ถูกจับกุมทั้ง ๑๓ คน มีนักเรียนนิสิตนักศึกษาประชาชนมาร่วมชุมนุมเป็นจำนวนประมาณ ๕ แสนคนเที่ยงตรงของวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๑๖ ฝูงชนเคลื่อนตัวออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สู่อนุสาวรีย์ ประชาธิปไตยและลานพระบรมรูปทรงม้า การเจรจาระหว่างนักศึกษากับฝ่ายรัฐบาลดำเนินไปจนถึง เวลาดึกของวันเดียวกันการนองเลือดเริ่มต้นเวลาเช้ามืดของวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ เมื่อตำรวจคอมมานโดบุกเข้าตี นักศึกษาที่กำลังจะแยกย้ายกันกลับบ้านอยู่แล้ว ข่าวการทารุณของตำรวจคอมมานโดแพร่ไปทั่วกรุงเทพฯนักเรียน นิสิตนักศึกษา ประชาชนที่มีแต่ระเบิดขวด ท่อนไม้ และ ก้อนหิน ปะทะกับทหารตำรวจอาวุธ ครบมือ เหตุการณ์ลุกลามไปทั่วบริเวณหน้ากรมลุกลามไปทั่วบริเวณหน้ากรมประชาสัมพันธ์ หน้าวัด ชนะสงคราม สะพานผ่านฟ้าฯ ถนนราชดำเนินกลางและถนนราชดำเนินนอกเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคมสิ้นสุดลงเมื่อจอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร และพันเอก ณรงค์ กิตติขจร หรือตามที่เรียกกันในขณะนั้นว่า "สามทรราช" เดินทางออกนอกประเทศไปในที่สุดผลจากเหตุการณ์ประเทศไทยช่วงหลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม เป็นช่วงที่กระแสประชาธิปไตยเบ่งบานที่สุดช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์

มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ ๗๓ คน บาดเจ็บ ๘๕๗ คน
หลังเหตุการณ์ มีการแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ร่างรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นประชาธิปไตย มากที่สุด และจัดให้มีการเลือกตั้งครั้งใหม่ในเวลาต่อมาปัญหาสังคมที่สั่งสมมาเป็นเวลานานได้ระเบิดออกมาหลังเหตุการณ์ขบวนการนักศึกษาและกระแสประชาธิปไตย แสดงพละกำลังอย่างชัดเจน มีการสไตรค์ของกรรมการบ่อยครั้ง และเกิดการรวมตัว ของชาวนาและเกษตรกรอย่างกว้างขวางและเป็นระบบทั่วประเทศตามมาด้วยขบวนการของกลุ่มอำนาจฝ่ายขวาอย่างเช่น กลุ่มนวพลลูกเสือชาวบ้านและกระทิงแดง ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อใช้ความรุนแรงต่อต้านขบวนการนักศึกษาในลักษณะ "ขวาพิฆาตซ้าย"ความสำคัญของเหตุการณ์เป็นครั้งแรกที่ประชาชนคนไทยได้แสดง "พลังประชาชนและประชาธิปไตย" ซึ่งมีผลใน การเปลี่ยนแปลงทิศทางการเมืองและสังคมอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน


คัดลอกมาจาก : http://seedang.com/stories (สืบค้นเมื่อ 14 ต.ค.2551)